บทความแนะนำ

บทความ ศาสตร์แห่งดวงดาว
เบอร์มงคล 100% ผลรวมดี ทั้งคู่ ทำไมคนหนึ่งชีวิตดีแต่อีกคนชีวิตแย่?!?!?
ตัวเลขส่งเสริมการเงินและโชคลาภ
กลุ่มส่งเสริมการเงิน ตัวเลขมหาอุจจ์
กลุ่มส่งเเสริมการเงิน มหาจักร
กลุ่มส่งเเสริมการเงินราชาโชค
กลุ่มแสดงถึงความมั่นคงทางการเงินและรายได้
ตัวเลข ปัญหา/อุปสรรค/ศัตรู
ตัวเลขส่งเสริมเรื่อง ความรัก และ คู่ครอง
ตัวเลขส่งเสริมเรื่อง ลูกค้าและเพื่อนฝูง
ตัวเลขส่งเสริมเรื่อง ผู้อุปถัมภ์ ความสำเร็จ และ ความรุ่งเรือง
ตัวเลข วินาสน์ (ล่มสลาย,ฉับพลัน,เปลี่ยนแปลง,ที่ลับ,คนแปลกหน้า)
ประสบการณ์ผู้ที่ใช้เบอร์พลังดวงดาวตามลัคนา และมีเงินซื้อรถ 2 คัน บ้าน 2 หลัง
Case Study : เปลี่ยนเบอร์ตามหลักศาสตร์แห่งดวงดาวแล้วขายที่ดินได้ในราคาสูง
แย่แล้ว !!! เบอร์มังกร (789) ทำฉันเป็นหนี้ !!!!
ว่าไงนะ!!! เบอร์หงส์ (289) พ่นพิษ !!! เสียบ้านที่อุตส่าห์ซื้อมา
เบอร์เสน่ห์ตามหลักเลขศาสตร์ VS เลขการเงินตามศาสตร์แห่งดวงดาว
กำลังดวงดาว 9 หมายถึงอะไร?
เบอร์มงคล 10 หลัก ผลรวมดี ทำไมชีวิตฉันจึงลำบาก!!!

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ บทสวดมนต์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ บทสวดมนต์ แสดงบทความทั้งหมด

วันศุกร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2561

คาถามหาลาภ สำหรับคนชอบเสี่ยงดวง



ใครจะเสี่ยงโชคเสี่ยงอะไร ลองใช้คาถาเหล่านี้ดู
ปล.หมั่นทำบุญทำกุศลด้วยนะ




คาถาขโมยดวง 
นะโมพุทธายะ สะสุมัง 
(ให้อธิษฐานว่าขอให้ความโชคดีและความดวงดีจงบังเกิดมีแก่เรา )

 คาถาทำให้ถูกหวย 
อุเย อะเย อุอากะสะ 
(ให้ภาวนาก่อนหวยออก 3 วัน) 

 คาถาเสกเงินก่อนไปซื้อหวย
 มิเตพาหุ หะติ อุอากะสะ 
(เสกเงินที่จะใช้ซื้อหวยเป็นเวลา 9 วันก่อนจะนำเงินนั้นไปซื้อ )

 คาถามหาลาภ 
มะอะอุ อุอะมะ อะมะอุ นะชาลีติ ชาลีตินะ ลีตินะชา ตินะชาลี 
(โชคลาภไหลมา นะชาลีติ ใช้ปรับดวงให้มีลาภมากหากคุณเป็นคนไม่มีโชคไม่มีลาภ)

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เคล็ดสำคัญในการสวดมนต์ให้ศักดิ์สิทธิ์ ด้วยวิธีเพิ่มพลังบุญให้ตนเอง


การสร้างบุญก่อนการสวดมนต์นั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญและดีมากๆ ด้วย เพราะทำให้เราตัวเราเองมีบุญใหม่ของตนมารวมกับบุญเก่าที่จะน้อมถวายพระพุทธเจ้า "ต้องเป็นคนดี และมีบุญของตนเองเสียก่อน" เรื่องนี้เป็นเคล็ดลับสำคัญในการสวดมนต์ และสวดคาถาศักดิ์สิทธิ์ทุกบท ที่จะต้องถือว่าเป็นอันดับแรกในการเตรียมตัวที่จะสวดเพื่อให้ชีวิตนั้นรุ่งเรือง ร่ำรวย บำบัดรักษาโรคภัยใช้ได้ทั้งทางโลกและทางธรรม ด้วยพลานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์ของบทสวดมนต์และคาถานั้น เชื่อว่าหากผู้สวดนั้นเป็นคนดีมีศีลธรรม จะช่วยทำให้คนที่สวดนั้นพบกับความมหัศจรรย์ ในการนำเรื่องดีเข้ามาสู่ชีวิตไม่ขาดสาย จะทำการค้าขายก็เจริญรุ่งเรือง เงินไหลมาเทมา ครอบครัวก็เป็นสุข


เรื่องการปัดเป่าเคราะห์ร้ายหรือภัยพิบัติในชีวิตให้คลายตัวลงหรือหมดไปประจวบกับกรรมนั้นถึงเวลาอ่อนตัวลง และจะกลายเป็นเกราะป้องกันไม่ให้เรื่องร้าย หรือสิ่งอัปมงคลเสนียดจัญไร เข้ามาในชีวิตได้อีก บทสวดทุกบทในหนังสือเล่มได้มีการ พิสูจน์มาอย่างยาวนานจากครูบาอาจารย์ที่เคยสวดมาแล้ว แต่ที่หลายคนสวดแล้วบอกไม่ได้เหตุผลสำคัญก็คือ ยังเป็นคนดีไม่พอ หรือบุญที่มีนั้นไม่พอที่จะส่งผลดีต่อชีวิตและความปรารถนาให้สำเร็จได้ หรือมีวิบากกรรมบางอย่างขวางเอาไว้ ทำไมถึงพูดว่ายังเป็นคนดีและยังบุญไม่พอเช่นนี้ เพราะการสวดมนต์นั้นเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการทำกรรมดี เป็นการเพิ่มฤทธิ์ทางใจ น้อมนำพลังฝ่ายดีเข้าสู่ตัวด้วยอำนาจแห่งอักขระ อำนาจของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุอยู่ในบทสวดมนต์นั้น

แต่อำนาจและคุณความดีเหล่านี้จะเข้าสู่ตัวของผู้สวดไม่ได้เลย หากมีกรรมชั่วภายในสกัดกั้นอยู่มาก อำนาจฝ่ายดีก็ไม่อาจจะแทรกเข้าไปส่งผลได้เลย ครูบาอาจารย์หลายท่านจึงกล่าวตรงกันว่า กรรมดีหรือกรรมขาวนั้นจะไม่สามารถเข้าไปไม่ได้เลย หากมีกรรมชั่วหรือกรรมดำอยู่ในใจ กรรมทั้งสองสิ่งนี้อยู่รวมกันไม่ได้ สิ่งที่สะอาดกับสิ่งสกปรกมันเข้ากันไม่ได้ กรรมชั่วมันจะไปขัดขวางให้สวดไม่ได้ จำไม่ได้แม้แต่จะสมาทานศีล 5 ที่เป็นเรื่องง่ายมากสำหรับคนไทยแต่ก็ทำไม่ได้ หรือทำให้ต้องมีกิจธุระหรือเหตุการณ์มาทำให้สวดมนต์ไม่ได้

เหมือนขวดน้ำที่มีน้ำอยู่เต็มขวด แม้พยายามจะกรอกน้ำเข้าไปอีกมันก็ล้นเข้าไปไม่ได้ เพราะน้ำในขวดมันดันไม่ให้เข้าไป แต่อานิสงส์ของบุญและพลังศักดิ์สิทธิ์ของการสวดมนต์นั้นก็ยังอยู่ไม่ได้หายไปไหน แต่ทว่ายังส่งผลไม่ได้จนกว่า กรรมชั่วหรือกรรมดำนั้นจะลดลง จึงจะเข้าไปส่งผลกับชีวิตของเราได้ ดังนั้นก่อนที่จะสวดมนต์ ทำความดีสร้างมงคลสู่ชีวิตนั้น เป็นเรื่องจำเป็นมากที่ต้องลด ละ เลิกทำความชั่วเสียก่อนในทุกประเภทเพื่อไม่ให้มีกรรมชั่วเพิ่มเติม ในส่วนที่พลาดพลั้งไปแล้วนั้นเราย้อนเวลากลับไปแก้ไขไม่ได้ ก็เหมือนน้ำดำหรือยาพิษที่แทรกอยู่ในน้ำสะอาดที่เคยใส่ลงไป



ไม่เป็นไร ไม่ต้องกังวล กรรมดีสร้างได้ใหม่ในทุกวินาที หมั่นสร้างบุญกุศลเหมือนเติมน้ำสะอาดเข้าไปในชีวิตเรื่อยๆ น้ำดำหรือยาพิษนั้นก็จะเจือจางลงไป จนไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ เหมือนกับเวลาที่เรามีบุญมาก เป็นช่วงเวลาที่วิบากกรรมฝ่ายดีมาส่งผล วิบากกรรมฝ่ายไม่ดีก็ไม่มีโอกาสที่แทรกมาส่งผลได้ หรืออาจจะส่งผลได้น้อยมากจนเราไม่รู้สึกอะไรเลย ถ้าอยากจะให้ชีวิตดีต้องเริ่มตั้งวันนี้ วินาทีนี้เลย ถ้าอยากให้ชีวิตดีอย่าผัดวันประกันพรุ่ง ขอให้มั่นใจและมีศรัทธาอย่างมั่นคงว่า “บุญนั้นเป็นที่พึ่งได้จริง”

สำหรับคนที่มีวิบากกรรมไม่ดีมาขวางไว้ ทำให้สวดมนต์ไม่ได้หรือจำบทสวดมนต์แม้แต่สั้นๆ ไม่ได้ หรือเจออุปสรรคกรรมขวางไว้ไม่ให้สวดมนต์ได้ ทางแก้ไขก็คือ หมั่นสร้างบุญกุศล อธิษฐานขอให้อานิสงส์แห่งบุญช่วยให้สวดมนต์ได้และต้องอุทิศบุญนั้นให้เจ้ากรรมนายเวรที่มาขวางทางบุญนี้เสีย ทำบ่อยๆ จนเจ้ากรรมนายเวรเขาพอใจ เขาจะหลีกทางให้เราสวดมนต์สร้างบุญกุศลได้ สำหรับท่านใดที่ไม่รู้ว่าต้องเองได้รับวิบากกรรมจากกรรมใด เมื่อไหร่แน่ แต่ส่งผลให้มาขัดขวางในการสวดมนต์ ขอให้สร้างบุญกุศลเป็นของตนเองและอุทิศบุญไปให้เจ้ากรรมนายเวรแบบเจาะจงว่า

“โดยเฉพาะเจ้ากรรมนายเวรที่ขัดขวางการสวดมนต์ ขอให้ท่านมารับบุญกุศลนี้ เมื่อท่านมารับแล้วพอใจในบุญกุศลนี้ ขอให้ท่านถอนตัวจากการขัดขวางการสวดมนต์ด้วยเถิด" หมั่นทำบ่อยๆ แล้วท่านจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เรื่องนี้พิสูจน์มาแล้ว แต่ท่านจะเชื่อหรือไม่เชื่อนั้น ขอให้เป็นสิทธิ์ของท่าน บุญของท่านเอง

ที่มา : http://horoscope.sanook.com/104657/

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559

คาถาขอทรัพย์พญานาคราช สำหรับลูกหลานพญานาค




คาถาบูชา ปู่นาคาธิบดีศรีสุทโธ

*****  นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ) ******

กายะวาจะ จิตตัง อะหังวันทา นาคาธิบดีศรีสุทโธ วิสุทธิเทวา ปูเชมิ 
ทุติยัมปิ กายะวาจะ จิตตัง อะหังวันทา นาคาธิบดีศรีสุทโธ วิสุทธิเทวา ปูเชมิ
ตะติยัมปิ กายะวาจะ จิตตัง อะหังวันทา นาคาธิบดีศรีสุทโธ วิสุทธิเทวา ปูเชมิ 
เมตตัญจะ จะมหาลาโภ ปิโยนาคะ ขันธปริตตัง. .


คาถาบูชา เจ้าย่านางพญานาคิณี ศรีปทุมมา (คู่บารมีของปู่ปู่นาคาธิบดีศรีสุทโธ) 

***** นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ) *****

กายะวาจะ จิตตัง อะหังวันทา นางพญานาคิณี ศรีปทุมมา วิสุทธิเทวี ปูเชมิ 
ทุติยัมปิ กายะวาจะ จิตตัง อะหังวันทา นางพญานาคิณี ศรีปทุมมา วิสุทธิเทวา ปูเชมิ
ตะติยัมปิ กายะวาจะ จิตตัง อะหังวันทา นางพญานาคิณี ศรีปทุมมา วิสุทธิเทวา ปูเชมิ 
เมตตัญจะ จะมหาลาโภ ปิโยนาคะ ขันธปริตตัง..



คาถาขอทรัพย์นี้เป็นคาถาขอทรัพย์ต่อ ท่านปู่พญานาคศรีสุทโธ ผู้ปกครองพญานาคในเขตประเทศไทย
ผู้ที่ขอทรัพย์นั้น จะต้องขอด้วยความเคารพ ซึ่งขั้นตอนจะต้องถือศีล 8 และรักษาศีลด้วยความบริสุทธิ์ตลอด 7 วัน และอุทิศบุญทั้งหมดให้ท่าน...สำหรับการขอนั้นให้ขอให้ได้ผ่านการงานที่ตนทำด้วยความขยันและเป็นสัมมาอาชีพ (ขอให้รวยจากหวยเนี่ยไม่ได้นะ)...
สำหรับผู้ที่ต้องการสวดทุกคืน ก็ขอให้สวดด้วยความเคารพท่าน...และต้องรักษาศีล 5 ให้ดี...และความเจริญรุ่งเรืองจึงจะมีต่อท่าน...

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

10 วิธีสวดมนต์ ที่ทำแล้วชีวิตจึงดี มีสุข (1 แชร์ เท่ากับ 1 ธรรมทาน)


1. ก่อนสวดให้เลือกเวลาและสถานที่ที่จะมีสิ่งรบกวนน้อยที่สุด เช่น ห้องนอนของตัวเองในเวลาก่อนนอน, ห้องนอนของตัวเองในเวลาตื่นนอน ไม่จำเป็นต้องไปถึงวัดก็ได้ “เพราะการทำดี ทำได้ทันทีโดยไม่ต้องเลือก ไม่ต้องรอ”

2. เคลียร์ความคิดและจิตใจให้ปลอดโปร่งที่สุด อะไรที่ทำให้คิดมาก จิตตก รู้สึกแย่ อาฆาตพยาบาท โกรธเคือง โยนทิ้งออกไปก่อนชั่วคราว “การสวดมนต์เพื่อหวังจะลบความรู้สึกแย่ในใจ ไม่ช่วยอะไรให้ดีขึ้น” เพราะมันจะเหมือนกับเศษตะกอนที่อยู่ในน้ำ ต่อให้เติมน้ำที่กลั่นมาใสสะอาดเท่าไหร่มันก็ยังขุ่นอยู่อย่างนั้น ถ้าไม่พร้อมจะสวดจริง ๆ อย่าเพิ่งสวด

3. ความยาวของคาถาไม่ได้การันตีว่าชีวิตจะดีขึ้นจริง ๆ เอาแค่เซตคาถาที่พอจูนสมาธิให้กับตัวเองได้สัก 3-5 นาทีเป็นอย่างต่ำ เช่น สวดอะระหังสัมมาฯ+คาถาชินบัญชร, สวดอะระหังสัมมาฯ+อิติปิโสฯ+พาหุงฯ+ชินบัญชร สุดแท้แต่ที่จะเลือกมาสวด คาถาไหนก็ได้ความหมายที่ดีทั้งนั้น

4. ต่อให้คาถานั้นมีความหมายถึงลาภยศสรรเสริญอยู่จริง “อย่าโฟกัสให้จิตจ้องลาภ” เพราะนั่นเท่ากับว่าเราหมกมุ่นยึดติดกับเงินทองมากเกินไป ควรโฟกัสที่การใช้เวลาสวดไปเพื่อการจูนสมาธิและจิต ให้ว่างเปล่า บริสุทธิ์ พร้อมจะคิดอะไรใหม่ ๆ ดี ๆ เพิ่มขึ้นมาได้ (คิดดี ทำดี เป็นรากฐานก็การได้รับสิ่งดี)

5. นั่งในท่าที่สบาย ขัดสมาธิก็ได้ พับเพียบก็ได้ แต่ก็ให้เป็นท่าที่สามารถอยู่นิ่งได้นาน ไม่ปวดทรมาน ไม่เหน็บชา จนต้องขยุกขยิกบ่อย ๆ ให้เสียสมาธิ

6. เคล็ดลับการนั่งสวดมนต์ (ไปจนถึงนั่งสมาธิ) นาน ๆ ก็คือ ควรนั่งให้หลังตรง ไม่ค่อมตัว ไม่แอ่นตัว เพื่อเปิดทางเดินหายใจให้โล่งพร้อมรับลมหายใจที่ไหลเวียนได้สะดวก (ออกซิเจนมีผลต่อระบบร่างกายเรา หากไม่ได้รับในปริมาณที่เพียงพอ เพียงแค่เรานั่งผิดองศา เราจะง่วงซึม ปวดเมื่อย รู้สึกมึน)

7. ผลพลอยได้จากการนั่งหลังตรง ไม่เพียงแต่สมาธิที่ดี แต่ยังได้บุคลิกภาพที่สง่างามด้วย

8. ในขณะที่สวดมนต์จะเปล่งออกเสียง หรือพูดแบบกระซิบก็ได้ “ขอให้ปากได้ขยับตามบทสวดแบบชัดถ้อยชัดคำ” อย่าบ่นงึมงำไม่ได้ศัพท์เหมือนเด็กหัดพูด เพื่อให้รู้ตัวว่ากำลังสวดมนต์อยู่ในขณะนี้ ปัจจุบันนี้ จิตไม่ได้ล่องลอยไปไหน (ในทางความเชื่อ การสวดให้ชัดถ้อยชัดคำ ก็เพื่อให้พระท่านรับรู้ว่าเราต้องการจะสื่อสารอะไร ท่านจะได้ประทานพรได้ถูก แต่ถ้ามองในทางวิทยาศาสตร์หรือจิตวิทยา เสียงที่เปล่งออกมา ปากที่ขยับ มันคือการฝึกจิตให้จดจ่ออยู่กับปัจจุบันที่สุด)

9. สวดมนต์แล้วอย่าลืมนั่งสมาธิเพื่อภาวนา แผ่เมตตาให้กับสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย และสิ่งที่มองไม่เห็น ใครหรืออะไรก็ตามที่มีผลต่อชีวิตเรา ทั้งในด้านดีและด้านร้าย ทั้งในด้านที่เป็นมิตรและเป็นศัตรู ขอให้พยายามนึกเรื่อย ๆ … กล่าวขอบคุณ, ขอโทษ และให้อภัยพวกเขาในขณะที่หลับตา (ในทางพุทธศาสนา คือ การนึกถึงเรื่องเวรกรรมบาปบุญ สร้างบุญให้กับตนเองและผู้อื่น แต่ในทางจิตวิทยา คือ การชำระจิตให้สะอาดกว่านี้ ไม่ให้รู้สึกว่าติดค้างอะไร แถมยังได้กำลังใจจากการนึกถึงแต่สิ่งดี ๆ อีกด้วย)

10. หลังจากสวดมนต์จบแล้ว พยายามตัดนิสัยไม่ให้ตัวเองผิดศีล 5 ถ้าเป็นเวลานอน (สวดมนต์ก่อนนอน) สวดมนต์-นั่งสมาธิแผ่เมตตาเสร็จแล้วก็รีบนอนเลย อย่าประวิงเวลาแม้กระทั่งเช็คเฟส เช็คไลน์แค่นาทีเดียว เพื่อให้นอนฝันดีที่สุดจากจิตที่เพิ่งชำระสะอาดมาหมาด ๆ

ถ้ายังต้องมีกิจกรรมอื่นหลังจากสวดมนต์-นั่งสมาธิจบแล้ว เช่น จะต้องออกไปทำงาน, ออกไปข้างนอก หรืออะไรก็ตาม ให้ตั้งปณิธานไว้ว่าจะไม่ผิดศีล 5 เลยภายในกี่ชั่วโมงก็ว่ากันไปตามแต่สะดวก อาจพัฒนาจากไม่กี่ชั่วโมงเป็นทั้งวันได้ยิ่งดี (ในทางความเชื่อ ก็เหมือนกับว่าถ้าเราอยากจะได้สิ่งดี อยากให้พระท่านประทานพร เราก็ต้องพิสูจน์ตัวเองให้ท่านเห็นก่อนว่าเราจะทำดีจริง ๆ โดยมีศีล5กำกับ แต่ถ้าในทางจิตวิทยามันก็คือการดัดนิสัยตัวเองให้ได้รับพลังบวกมาก ๆ จากการทำดี คิดดีให้มากนั่นเอง)

เลือกปฏิบัติกันได้แล้วแต่คุณจะสะดวก อาจจะไม่ทุกวัน แต่ขอให้สม่ำเสมอจนเป็นนิสัย … สุขภาพกายและสุขภาพจิตดี ผลตอบแทนที่ดี เราเริ่มได้จากตัวเรา

ที่มา : share-si.

วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เคล็ดวิชาที่ใช้แก้ไขปัญหาเรื่องเงินแบบเร่งด่วนสุด


สำหรับท่านที่ดวงตกและมีปัญหาเรื่องเงินอย่างหนักนั้น นอกจากที่แนะนำไปข้างต้นแล้ว ขอแนะนำเพิ่มเติมถ้าอยากจะให้ดีขึ้นแบบทันตาเห็น ให้ทำดังนี้

– ต้องสวดมนต์พระคาถาเงินล้านของหลวงพ่อฤๅษีลิงดำอย่างน้อยวันละ 9 จบ ในทุกวันถ้าทำได้ว่างเมื่อไหร่ก็ให้สวดเมื่อนั้น ถ้าติดขัดการเงินแบบหนักหนาสาหัสสากรรจ์เจียนจะตายเสียให้ได้ให้ตั้งใจท่องพระคาถาวันละ 108 จบ

สำคัญมากๆ ก็คือในเวลาที่ท่องนั้น ห้ามเอาจิตไปคิดถึงเรื่องเงินแบบให้ได้มาเร็ว ให้ถูกหวย ให้มีลาภใหญ่หรือความโลภอะไรก็ตามเพราะกรรมทางใจไม่ดีเหล่านี้จะไปหน่วงกรรมดีและสิ่งที่ควรได้ ต้องปล่อยใจให้สบายๆ คิดว่าเป็นการสวดเพื่อโมทนาพระคุณความดีของหลวงพ่อปาน หลวงพ่อฤๅษีลิงดำก็พอ

– ต้องใส่บาตรทุกวันหรือหมั่นทำบุญทุกวันไม่ว่าจะเป็นทาน ศีล ภาวนา แล้วอุทิศบุญให้กับหลวงพ่อเงินไหลมาเทมา พระพุทธรูปปางอุ้มบาตรที่อยู่ที่วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี หากมีโอกาสให้ไปไหว้ท่านที่วัดท่าซุงเลย ถ้าไม่มีเวลาให้ดูในรูปประกอบบทนี้

อุทิศบุญให้กับพรหมเทพเทวดาที่รักษาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดท่าซุงทั้งหมดและที่ดูแลรักษาหลวงพ่อเงินไหลมาเทมา อุทิศบุญเพื่อโมทนาพระคุณความดีหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ ครูผึ้ง ครูแจงและทุกท่านที่เอาพระคาถามาเผยแพร่ อุทิศบุญให้เทวดารักษาตัว เทวดาที่ดูแลบ้านเรือนและร้านค้า สถานที่ทำงาน

อุทิศบุญให้เจ้ากรรมเจ้ากรรมนายเวรแบบต้องเฉพาะเจาะจง เรามีเรื่องใดที่ต้องเร่งแก้ไขด่วนให้กล่าวถึงเจ้ากรรมนายเวรแบบนั้นเลย เช่น โดยเฉพาะเจ้ากรรมนายเวรที่ทำให้ตกงานอยู่ในขณะนี้ หรือโดยเฉพาะเจ้ากรรมนายเวรที่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องเงินอย่างหนักในขณะนี้ หรือโดยเฉพาะเจ้ากรรมนายเวรที่ทำให้เกิดปัญหาทางการค้าอย่างรุนแรงในขณะนี้ เป็นต้น

– รักษาศีล 5 เท่าชีวิตเท่าที่ทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศีลข้อที่ 4 และศีลข้อที่ 5 ต้องถือสัจจะห้ามผิดคำพูดเป็นอันเด็ดขาด คำพูดนี้สำคัญมากแม้แต่มหาโจรยังถือข้อนี้เป็นอันดับแรกเลย และห้ามกินเหล้าเมายาทั้งสิ้น และเพราะถ้าผิดศีล 2 ข้อนี้แล้ว ถือเป็นกรรมตรงที่จะไปขัดขวางเรื่องดีๆ ที่จะเข้ามาในชีวิตไม่ให้เกิดขึ้นเลย

– เมื่อสวดพระคาถาเสร็จแล้วให้ตั้งจิตอธิษฐานกล่าวดังนี้

“ขอบุญบารมีแห่งพระคาถา หลวงพ่อเงินไหลมาเทมา หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ โปรดดลบันดาลให้….(ตามที่เราปรารถนาให้เกิดขึ้น และต้องเป็นเรื่องเดียว ถ้าเรื่องเงินก็เงิน จำนวนเท่าไรก็ต้องเท่านั้น เรื่องการค้าก็การค้า อย่าขอมั่วไปหมด เมื่อได้เรื่องใดเรื่องหนึ่งค่อยขอเรื่องต่อไปที่ต้องการ อีกทั้งห้ามบนบานติดสินบนเด็ดขาด)

เคล็ดวิชานี้ใช้ได้ผลมามากมายทั้งคนที่ตกงานหางานทำไม่ได้ คนที่เป็นหนี้สินที่แทบฆ่าตัวตาย คนที่สิ้นหวังในชีวิต รอดมาแล้วทั้งนั้น แต่ต้องทำจริง อย่าทำเล่นหากท่านทำได้ทำครบถ้วนทุกประการที่ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำแล้ว  รับรองว่าทุกท่านจะได้รู้ความเปลี่ยนแปลงในชีวิตด้วยตัวเองในเวลาไม่นานนัก

พระคาถาเงินล้านของหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ

ก่อนสวดพระคาถาให้ตั้งจิตให้นิ่ง ท่อง
 *** นะโมฯ 3 จบ ****

สัมปจิตฉามิ

นาสังสิโม พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ

พรหมมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุ เม

มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุ เมมิเตพาหุหะติ                

พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา

วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม

สัมปติจฉามิ

เพ็งๆ พาๆ หาๆ ฤาๆ

(***สวดทุกวันอย่างน้อย 9 จบถ้าดวงตกหนักมากหรือการเงินติดขัด การค้ามีปัญหา มีแต่เรื่องร้ายๆ ให้สวด 108 จบหรือมากได้ตามกำลังศรัทธา คาถาบทนี้กล่าวไว้ในบทแรกแล้ว แต่ขออนุญาตนำมาลงซ้ำ เพราะตรงกับการแก้ไขในเรื่องนี้โดยเฉพาะ)


การอธิฐานพิเศษเมื่อดวงตก (ได้รับเมตตาจากอาจารย์คนเมืองบัว)

จุดธูป 39 ดอก ที่โล่งแจ้งนอกชายคาบ้าน

ช่วงเวลาจุด 06.00 น. ถึง 12.00 น.

* * ตั้งนะโม ฯ 3 จบ  **

ตั้งจิตให้นิ่งแล้วอธิษฐาน  ดังนี้

          “ ข้าพเจ้าชื่อ………………….นามสกุล…………………………..อายุ………..ปี (ถ้าเปลี่ยนชื่อให้กล่าวชื่อเดิม)

            ขออาราธนาบารมีพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ หลวงพ่อปานวัดบางนมโค หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ อีกทั้ง เทวดาที่คุ้มครองและท่านท้าวพระยายมราช จงได้โปรดสงเคราะห์ ระงับกรรมที่เป็น อกุศล  ที่มาตัดรอนชีวิต อายุ การเงิน การงาน ความสุขในครอบครัวไว้ก่อน เพื่อที่จะให้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสสำเร็จประโยชน์ ในทุกสิ่ง เพื่อที่จะได้บำเพ็ญบารมี ทานศีลภาวนา ในการอันสมควร และขอให้บริวารอยู่ในปกครอง อุปสรรคในกิจการงานจงอย่ามีแก่ข้าพเจ้า”


หากอ่านแล้วเข้าใจทั้งหมดแล้วได้ลงมือทำ นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปถ้าทำครบถ้วนถูกต้อง ต่อให้ “ดวงตก” มีปัญหาเรื่องเงินแค่ไหน เราก็แก้ไขได้ ชีวิตก็จะมีแต่ความสุข ความเจริญหลั่งไหลเข้ามาแบบไม่ขาดสาย

พฤษภาคม 30, 2011 โดย ธ. ธรรมรักษ์

ที่มา : https://torthammarak.wordpress.com/2011/05/30/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%81%E0%B8%9A/

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วิธีกรวดน้ำ (ที่ถูกต้อง)



การกรวดน้ำ คือ การตั้งใจอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลที่เราได้ทำไว้แล้วไปให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วพร้อมทั้งรินน้ำให้ไหลลงไปที่พื้นดินหรือที่รองรับ แล้วเอาไปเทที่พื้นดินอีกต่อหนึ่งหรือรดที่โคนต้นไม้ก็ได้ เพื่อให้จำง่ายไม่สับสน จึงขอแยกเป็นข้อๆ ดังนี้

1. การกรวดน้ำมี 2 วิธี คือ

กรวดน้ำเปียก คือ ใช้น้ำเป็นสื่อ รินน้ำลงไปพร้อมกับอุทิศผลบุญกุศลไปด้วย
กรวดน้ำแห้ง คือ ไม่ใช้น้ำ ใช้แต่สิบนิ้วพนมอธิษฐาน แล้วอุทิศผลบุญกุศลไปให้

2. การอุทิศผลบุญมี 2 วิธี คือ

อุทิศเจาะจง ได้แก่ การออกชื่อผู้ที่เราจะให้ท่านรับ เช่น ชื่อพ่อ แม่ ลูก หรือใครก็ได้
อุทิศไม่เจาะจง ได้แก่ การกล่าวรวมๆกันไป เช่น ญาติทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวร และสรรพสัตว์ทั้งหลาย เป็นต้น ทางที่ถูกควรทำทั้งสองวิธี คือผู้ที่มีคุณหรือมีเวรต่อกันมาก เราก็ควรอุทิศเจาะจง ที่เหลือก็อุทิศรวมๆ

3. น้ำกรวด

ควรเป็นน้ำที่สะอาด ไม่มีสีและกลิ่น และเมื่อกรวดก็ควรรินลงในที่สะอาดและไปเทในที่สะอาด และที่สำคัญ อย่ารินลงกระโถนหรือที่สกปรก

4. น้ำเป็นสื่อ - ดินเป็นพยาน

การกรวดน้ำมิใช่จะอุทิศไปให้ผู้ตายกินน้ำ แต่ใช้น้ำเป็นสื่อและใช้แผ่นดินเป็นพยาน
ให้รับรู้ในการอุทิศส่วนบุญ

5. ควรกรวดน้ำตอนไหนดี ?

ควรกรวดน้ำทันทีในขณะที่พระอนุโมทนาหรือหลังทำบุญเสร็จ แต่ถ้าไม่สะดวกจะทำตอนหลังก็ได้ แต่ทำในขณะนั้นดีกว่า ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ

- ถ้ามีเปรตญาติมารอรับส่วนบุญ ท่านก็ย่อมได้รับในทันที

- การรอไปกรวดที่บ้านหรือกรวดภายหลัง บางครั้งก็อาจลืมไป ผู้ที่เขาตั้งใจรับก็อด ผู้ที่เราตั้งใจจะให้ก็ชวดไปด้วย

6. ควรรินน้ำตอนไหน ?

ควรเริ่มรินน้ำพร้อมกับตั้งใจอุทิศ ในขณะที่พระผู้นำเริ่มสวดว่า “ยะถาวาริวะหาปูรา...”
และรินให้หมดเมือ่พระว่ามาถึง “…มะณิโชติระโส ยะถา...” พอพระทั้งหมดรับพร้อมกันว่า
“สัพพีติโย วิวัชชันตุ...” เราก็พนมมือรับพรท่านไปจนจบ จึงจะถือว่าถูกต้อง

7. ถ้ายังว่าบทกรวดน้ำไม่เสร็จ จะทำอย่างไร ?

ก็ควรใช้บทกรวดน้ำที่สั้นๆหรือใช้บทกรวดน้ำย่อก็ได้ เช่น “อิทัง โน ญาตีนังไหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ขออุทิศส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ .... (ออกชื่อผู้ล่วงลับ) .... และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขเถิด”

หรือจะใช้แต่ภาษาไทยอย่างเดียวก็ได้ว่า “ขออุทิศส่วนบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญแล้วนี้ จงสำเร็จแก่ พ่อ แม่ ญาติ ครูอาจารย์ ผู้มีพระคุณเจ้ากรรมนายเวร และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ขอจงได้รับส่วนบุญกุศลครั้งนี้โดยเร็วพลัน และโดยทั่วถึงกันเทอญ” ส่วนบทยาวๆ เราควรเอาไว้กรวดส่วนตัว หรือกรวดในขณะทำวัตรสวดมนต์รวมกันก็ได้

ข้อสำคัญ ถ้าเป็นภาษาพระ ควรจะรู้คำแปลหรือความหมายด้วย ถ้าไม่รู้ความหมาย
ก็ควรใช้คำไทยอย่างเดียวดีกว่า เพราะป้องกันความโง่งมงายได้

8. อย่าทำน้ำสกปรกด้วยการเอานิ้วไปรอไว้

ควรรินให้ไหลเป็นสายไม่ขาดระยะ และไม่ควรใช้วิธี เกาะตัวกันเป็นกลุ่มหรือเป็นทางเหมือนเล่นงูกินหาง ถ้าเป็นในงานพิธีต่างๆ ให้เจ้าภาพหรือประธาน รินน้ำกรวดเพียงคนเดียวหรือคู่เดียวก็พอ คนนอกนั้นก็พนมมือตั้งใจอุทิศไปให้

9. การทำบุญและอุทิศส่วนบุญ

ควรสำรวมจิตใจ อย่าให้จิตฟุ้งซ่าน ปลูกศรัทธา ความเชื่อ
และความเลื่อมใสให้มั่นคงในจิตใจ ผลของบุญและการอุทิศส่วนบุญย่อมมีอานิสงค์มาก
ผลบุญที่เราอุทิศไปให้ ถ้าไม่มีใครมารับก็ยังคงเป็นของเราอยู่ครบถ้วน ไม่มีผู้ใดจะมาโกงหรือแย่งชิงไปได้เลย

10. บุญเป็นของกายสิทธิ์

ยิ่งให้ยิ่งมาก ยิ่งตระหนี่ยิ่งน้อย ยิ่งอุทิศให้คนอื่นหมดเลยเราก็ยิ่งจะได้บุญหมดเลย

ที่มา : http://board.palungjit.org/f8/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3-10-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A3-567642.html

คาถายันทุน (คาถาแก้เคล็ดฝันร้าย)



(*** นะโม ๓ จบ ***)


ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโธ 
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโธ 
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โยจามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโธ 
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ



บทสวดคาถายันทุน แท้จริงคือ คาถาอภัยปริตร...
สวดบูชาป้องกันอันตรายต่างๆ ให้พ้นจากภัยพิบัติทั้งปวง อานุภาพเพื่อแก้ลางร้าย เหตุร้าย ฝันร้ายทำลายสิ่งอัปมงคลทั้งปวงให้มลายสิ้น แม้ว่าเกิดนิมิตฝันไม่ดี เกิดอาเพศสังหรณ์ใจไปในทางที่ไม่ดีให้สวดพระคาถานี้จะกลับให้เกิดเป็นความดีขึ้น แม้จะมีเคราะห์ร้ายต่างๆ เกิดขึ้น ให้ทำน้ำมนต์อาบเสียด้วย และหากมีฝันดี ลางดี ก็เพิ่มพลังให้ดียิ่งขึ้น หมั่นเจริญภาวนาไว้ เกิดสิริมงคลยิ่งนัก สามารถสวดคาถาได้ตอนเช้าหลังจากตื่นนอน และก่อนนอนด้วย ยิ่งให้คุณแก่ผู้สวดภาวนา


คาถาอภัยปริตรพร้อมคำแปล

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ

(นิมิตอันเป็นลางชั่วร้ายอันใด สิ่งอวมงคลอันใด
เสียงนกที่ไม่ชอบใจอันใด สิ่งที่น่าตกใจอันใด
บาปร้าย เคราะห์ร้ายอันใด ฝันร้ายอันใด สิ่งไม่พึงปรารถนาอันใด ที่มีอยู่
ขอสิ่งเหล่านั้นจงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า)

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมัง คะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ

(นิมิตอันเป็นลางชั่วร้ายอันใด สิ่งอวมงคลอันใด
เสียงนกที่ไม่ชอบใจอันใด สิ่งที่น่าตกใจอันใด
บาปร้าย เคราะห์ร้ายอันใด ฝันร้ายอันใด สิ่งไม่พึงปรารถนาอันใด ที่มีอยู่
ขอสิ่งเหล่านั้นจงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพแห่ง พระธรรมเจ้า)

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะสัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ

(นิมิตอันเป็นลางชั่วร้ายอันใด สิ่งอวมงคลอันใด
เสียงนกที่ไม่ชอบใจอันใด สิ่งที่น่าตกใจอันใด
บาปร้าย เคราะห์ร้ายอันใด ฝันร้ายอันใด สิ่งไม่พึงปรารถนาอันใด ที่มีอยู่
ขอสิ่งเหล่านั้นจงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพแห่ง พระสังฆเจ้า )

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พระคาถามหาจักรพรรดิ์ (ฉบับวัดถ้ำเมืองนะ)

พระคาถามหาจักรพรรดิ์ (ฉบับวัดถ้ำเมืองนะ)



พระคาถามหาจักรพรรดิ์  หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

(ก่อนสวดหายใจลึกๆ นึกถึงภาพหลวงปู่ดู่ หรือหยิบรูปมาดูก็ได้ และถ้าเป็นไปได้ควรสวดเวลา 20.30 น.)
บทตั้งสัจจะอธิษฐาน)

ลูกขอตั้งสัจจะอธิษฐาน (ตั้งสัจจะโดยจะสวดมหาจักรพรรดิ์ทุกวัน หรือ สัจจะใดก็ตามที่เราคิดว่าทำได้ทุกวัน)
ด้วย สัจจะที่ลูกอธิษฐาน ลูกขอความเมตตาหลวงปู่ดู่โปรดเมตตารวมบุญน้อมนำกระแสความคล่องตัว ทั้งทางโลกและทางธรรม กระแสสัมมาอาชีพ และกระแสโภคทรัพย์แห่งจักรพรรดิเข้ามาสู่ชีวิตประจำวันของลูก และลูกขออธิษฐานเพื่อชาติ ศาสนา ราชบัลลังค์ หมู่คณะ สัตว์และมนุษย์ทั้งหลายที่ยังเวียนว่ายตายเกิด สิ่งที่ลูกอธิษฐานนี้ ลูกขอตั้งสัจจะอธิษฐาน ขอบารมีหลวงปู่ดู่โปรดเมตตาน้อมนำบารมีรวมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์ปฐมบรมมหาจักรพรรดิ์ ถึงองค์ปัจจุบันบรมมหาจักรพรรดิ์ทุกๆ พระองค์
ขอ บารมีรวมพระปัจเจกพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ขอบารมีรวมหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่เป็นที่สุด ขอบารมีรวมของดวงจิตพระโสดาบัน พระสกิทาคามี และพระอนาคามีทุกๆ ดวงจิต ตั้งแต่อดีต ถึงปัจจุบัน และอนาคต
ขออาราธนาบารมีทั้งหมดทั้งมวลแผ่ไปทั่วภพภูมิต่างๆทั้งหลาย ทั่วทั้ง 3 แดนโลกธาตุ อันประกอบไปด้วยเทพ 6 ชั้นพรหม 20 ชั้น เทพพรหมทุกชั้นฟ้ามหาสมุทรโดย ทั่วทั้งหมื่นแสนโกฎิจักรวาล เทพพรหมเทวาที่เกี่ยวพันกับหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ หลวงตาม้า เทพพรหมเทวาที่เกี่ยวพันเกี่ยวข้องกับข้าพเจ้า โดยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต ท่านปู่พระอินทร์เจ้าฟ้า ท่านท้าวจตุมหาราชทั้ง 4 พระยายมราชพร้อมด้วยบริวารทั้งหมด พระศรีสยามเทวาธิราชทุกๆพระองค์ วีรบุรุษและวีรสตรีทั้งหลาย ที่คอยปกป้องรักษาแผ่นดินสยาม โอปาติกะทั้งหลาย พระฤาษีและดาบสทั้งหลาย ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองทุกๆจังหวัด พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระราหูวราหก เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระคงคา พระเพลิง พระพาย พระพิรุณ พระยายมราชพร้อมบริวารพญาครุฑ-พญานาคพร้อมด้วยบริวาร คนธรรณ์ ชาวเมืองลับแล และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าได้เคยไปอธิษฐานไว้ ขอหลวงปู่ได้โปรดเมตตาน้อมนำท่านทั้งหลายมาร่วมสวดบทพระมหาจักรพรรดิ พร้อมกันกับพวกข้าพเจ้า ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้ด้วยเถิด

บทบูชาพระ

พุทธัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ
ธัมมัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ
สังฆัง ชีวิตตัง เม ปูเชมิ

 *** กราบพระ ๖ ครั้ง ***

พุทธัง วันทามิ (กราบ)
ธัมมัง วันทามิ (กราบ)
สังฆัง วันทามิ (กราบ)
ครูอุปัชฌาย์อาจาริยคุณัง วันทามิ (กราบ)
มาตาปิตุคุณัง วันทามิ (กราบ)
พระไตรสิกขาคุณัง วันทามิ (กราบ)

บทสมาทานศีล ๕

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ ครั้ง)
พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ
ปาณาติปาตา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ
อทินนาทา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ
อพรัมจริยา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ
มุสาวาทา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ
สุราเมรยะ มัชชปมาทัฎฐานา เวรมณี สิกขาปะทังสมาธิยามิ

อิมานิ ปัญจสิกขา ปทานิ สมาธิยามิ(๓ ครั้ง)
สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปทา
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโส ธะเย

บทอาราธนาพระ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ ครั้ง)
พุทธัง อาราธนานัง กะโรมิ
ธัมมัง อาราธนานัง กะโรมิ
สังฆัง อาราธนานัง กะโรมิ

คาถาหลวงปู่ทวด

น้อมระลึกถึงหลวงปู่ทวด แล้วว่าคาถาดังนี้
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา (๓ ครั้ง)

คาถาหลวงปู่ดู่

น้อมระลึกถึงหลวงปู่ดู่ แล้วว่าคาถาดังนี้
นะโม โพธิสัตโต พรหมปัญโญ (๓ ครั้ง)

บทขอขมาพระรัตนตรัย

โยโทโส โมหะจิตเต นะพุทธัสมิง ปาปะกะโต มะยา
ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ
โยโทโส โมหะจิตเต นะธัมมัสมิง ปาปะกะโต มะยา
ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ
โยโทโส โมหะจิตเต นะสังฆัสมิง ปาปะกะโต มะยา
ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

บทสวดมหาจักรพรรดิ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ(๓ ครั้ง)
** สวดตามกำลังวัน อาทิตย์ ๖, จันทร์ ๑๕, อังคาร ๘, พุธ ๑๗, พฤหัส ๑๙, ศุกร์ ๒๑, เสาร์ ๑๐ **
นะโมพุทธายะ พระพุทธไตรรัตนญาณ มณีนพรัตน์ สีสะหัสสะ สุธรรมา
พุทโธ ธัมโม สังโฆ ยะธาพุทโมนะ
พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา อัคคีธานัง วะรังคันธัง สีวลีจะ มหาเถรัง
อะหังวันทามิ ทูระโต อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ สัพพะโส
พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ

คำอธิษฐานสัพเพทั้งสามแดนโลกธาตุ

ข้าพเจ้า ......(นามของท่าน)...ผู้เป็นผู้รับใช้พระพุทธศาสนา ขอนอบน้อมและน้อมนำบารมีรวมแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยบุคคลทุกชั้นภูมิ พระโพธิสัตว์ และพระบรมมหาจักรพรรดิทุก ๆ พระองค์ โดยตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคต โดย มีบารมีรวมของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญเป็นที่สุด ขอพระบารมี อันหาที่สุดมิได้นี้ โปรดจงส่งไปให้ถึงภพภูมิต่างๆทั้งหลายในทั่วทั้ง 3 แดนโลกธาตุ อันประกอบไปด้วยเทพ 6 ชั้น พรหม 20 ชั้น เทพพรหมทุกชั้นฟ้ามหาสมุทรโดย ทั่วทั้งหมื่นแสนโกฏิจักรวาล เทพพรหมเทวาที่เกี่ยวพันกับหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ หลวงตาม้า เทพพรหมเทวาที่เกี่ยวพันเกี่ยวข้องกับข้าพเจ้า โดยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต ท่านปู่พระอินทร์เจ้าฟ้า ท่านท้าวจตุมหาราชทั้ง 4 พระยายมราชพร้อมด้วยบริวารทั้งหมด พระศรีสยามเทวาธิราชทุกๆพระองค์ วีรบุรุษและวีรสตรีทั้งหลาย ที่คอยปกป้องรักษาแผ่นดินสยาม โอปาติกะทั้งหลาย พระฤาษีและดาบสทั้งหลาย ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองทุกๆจังหวัด พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระราหูวราหก เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระคงคา แม่พระโพสพ พระเพลิง พระพาย พระพิรุณ พญาครุฑ-พญานาคพร้อมด้วยบริวาร คนธรรพ์ ชาวเมืองลับแล และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้าได้เคยไปอธิษฐานไว้ ตลอดจนถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย สรรพสัตว์ในดินแดนอบายภูมิทั้งหลายทั้งหมดทั้งสิ้น ขอโปรดจงได้รับมหากุศลผลบุญบารมีนี้ โดยถ้วนทั่วทุกตัวตน ทุกคนทุกท่าน เทอญ…
(ตั้งใจโน้มนำบุญและแผ่บุญออกไปด้วยบทสัพเพฯ)

บทอัญเชิญพระเข้าตัว (แผ่เมตตา)

สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา
พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพลัง
อรหันตานัญ จะ เตเชนะรักขัง พันธามิ สัพพะโส (สวด ๕ จบ)
พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆัง อธิษฐามิ (ให้อธิษฐานเอา)

คำอธิษฐานรวมกำลังจักรพรรดิ์

ลูกขอตั้งสัจจะอธิษฐาน (ตั้งสัจจะโดยจะสวดมหาจักรพรรดิ์ทุกวัน หรือ สัจจะใดก็ตามที่เราคิดว่าทำได้ทุกวัน)
ด้วย สัจจะอธิษฐาน ลูกขอบารมีหลวงปู่ดู่โปรดเมตตารวมบุญน้อมนำบารมีรวมขององค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าองค์ปฐมบรมมหาจักรพรรดิ์ถึงองค์ปัจจุบันบรมมหาจักรพรรดิ์ทุกๆ พระองค์
ขอ บารมีรวมพระปัจเจกพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ขอบารมีรวมหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่เป็นที่สุด ขอบารมีรวมของดวงจิตพระโสดาบัน พระสกิทาคามี และพระอนาคามีทุกๆ ดวงจิต
สิ่งที่ลูกอธิษฐาน ลูกอธิษฐานเพื่อชาติ ศาสนา ราชบัลลังก์ หมู่คณะ สัตว์ และมนุษย์ทั้งหมดที่ยังเวียนว่ายตายเกิด
สิ่ง ที่ลูกอธิษฐานนี้ ลูกขออาราธนาบารมีหลวงปู่ดู่น้อมนำบารมีรวมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์ปฐมบรมมหาจักรพรรดิ์ถึงองค์ปัจจุบันบรมมหาจักรพรรดิ์
ขอ บารมีรวมหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ขอได้โปรดเมตตารวมกำลังพระจักรพรรดิในทุกรูปลักษณ์ และที่ลูกได้สวดทุกวัน เพื่อนำกำลังนี้มาเป็นประโยชน์ต่อหน้าที่การงานของลูก (ฯลฯ)
และ แผ่ออกไปให้กับประเทศไทย (กำหนดภาพแผนที่ประเทศไทย) พระเจ้าแผ่นดินองค์ปัจจุบัน ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาทั่วโลก ผู้ที่ทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติศาสนา
(สัพเพฯ 3 ครั้ง)

คำอธิษฐานรวมบารมี 10

ลูกขอตั้งสัจจะอธิษฐาน (ตั้งสัจจะโดยจะสวดมหาจักรพรรดิ์ทุกวัน หรือ สัจจะใดก็ตามที่เราคิดว่าทำได้ทุกวัน)
และ ลูกขออนุโมทนาบุญแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐมบรมมหาจักรพร รดิ์ถึงองค์ปัจจุบันบรมมหาจักรพรรดิ์ทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย พระโสดาบัน พระสกิทาคามี และพระอนาคามีทุกๆ ดวงจิต
สิ่งที่ลูกอธิษฐาน ลูกอธิษฐานเพื่อชาติ ศาสนา ราชบัลลังก์ หมู่คณะ สัตว์ และมนุษย์ทั้งหมดที่ยังเวียนว่ายตายเกิด
สิ่ง ที่ลูกอธิษฐานนี้ ลูกขออาราธนาบารมีกำลังองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐมบรมมหาจักรพร รดิ์ถึงองค์ปัจจุบันบรมมหาจักรพรรดิ์ ขอบารมีรวมหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ บุญบารมีใดที่ลูกเคยสะสมอบรมมา เคยปฏิบัติมาจากอดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ ไม่ว่าจะเป็นบุญบารมีทั้ง 10 ทัศ อันได้แก่ ทาน, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา และอุเบกขา
ลูกขอบารมีหลวงปู่ดู่รวมบุญบารมีนี้ น้อมถวายแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ ปฐมบรมมหาจักรพรรดิ์ จนถึงองค์ปัจจุบันบรมมหาจักรพรรดิ ถวายหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ ขอถวายเป็นพุทธบูชา มหาเตชวันโต ธัมมะบูชา มหาปัญโญ สังฆะบูชา มหาโภควะโห ถวายแด่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ขอ อาราธนาบารมีหลวงปู่ดู่ โปรดน้อมนำบารมีทั้งหมดทั้งมวลนี้กลับมายังลูกเป็นเท่าทวีคูณ เพื่อลูกจะได้นำมาเป็นกำลังในการช่วยชาติ ศาสนา ราชบัลลังค์ หมู่คณะ สัตว์ และมนุษย์ทั้งมวล
(ตั้งจิตแผ่เมตตาให้กับผู้มีพระคุณ เจ้ากรรมนายเวรทั้งที่บ้านและหมู่คณะ)

สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา
พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพลัง
อรหันตานัญ จะ เตเชนะรักขัง พันธามิ สัพพะโส
(กล่าว 5 ครั้งและอธิษฐานขอในสิ่งที่ปรารถนา)

ขอสิ่งที่ลูกอธิษฐาน จงศักดิ์สิทธิ์สำเร็จเป็นจริง โดยฉับพลันทันใจทุกประการ
อิมัง สัจจะวาจานัง อธิฐามิ พุทธัง อธิฐามิ ธัมมัง อธิฐามิ สังฆัง อธิฐามิ

** ให้อธิษฐานทุกวัน เช้าตอนก่อนออกทำงาน-ก่อนนอน หากได้เวลา 20.30 น.ด้วยยิ่งดีมาก ***
ที่มา : Facebook : วัดพุทธพรหมปัญโญ : วัดถ้ำเมืองนะ

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พระคาถาล้างกรรม โดย หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค



พระคาถาล้างกรรม โดย หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค

พระคาถานี้คุณยายฟื้น ข้างวัดบางนมโคท่านมักมาขึ้นพระกรรมฐานกับหลวงปู่ปาน เป็นประจำ วันหนึ่งมีชายสองคนมาคุมร่างแกไปถึงสำนักพระยายมราชเมื่อตรวจดูก็รู้ว่าเอามาผิดคน ท่านพระยายมราช จึงให้เอาไปส่งก่อนกลับท่านได้ฝากสองคาถานี้ให้นำมาถวายหลวงปุ่ปาน วัดบางนมโค คือ๑.คาถาล้างกรรม เพื่อที่ลูกหลานคนใดได้สวดบรรพบุรุษจะบรรเทากรรมหนักลง และ๒.บทกรวดน้ำ ที่สามารถกรวดให้แก่วิญญาณสัมภเวสีให้พ้นทุกข์ เมื่อคืนมายังเมืองมนุษย์คุณยายฟื้น ได้นำมาถวายหลวงปู่ปาน ซึ่งคาถานี้อยู่ในหนังสือเล่มเก่าของวัดบางนมโค ต่อมาคาถานี้ได้หายไปในการพิมพ์หนังสือใหม่ ผมมีต้นฉบับของเก่าเลยถ่ายมาลงเป็นวิทยาทานครับ


คาถาล้างกรรม

(ตั้งนะโม 3 จบ)
พุทโธ อะระหัง อะระหัง พุทโธ 
ท้าวเวสสุวัณโณ พุทโธ อะระหัง 
กัมมะโตเมตัง กัมมะภันทะนัง 
ชีวิตตังให้ไปจุติ ให้ทุกชีวิตทุกวิญาณจงไปผุดไปเกิด
(*** 3 จบ ***)

บทกรวดน้ำ

อิมินา ปุญญกัมเมนะ 
ขอเดชเดชะกุศลผลบุญ ที่ข้าพเจ้าอุทิศไปให้คุณบิดามารดา
ญาติกาทั้งหลาย สมณชีพราหมณ์ อีกทั้งเรือด ริ้น ลา พระอินทร์เจ้าฟ้า
พระโคดม พระพรหมมีฤทธิ์ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระเพชรฉลูกรรณ 
พระมาตุลี พระกรุงพาลี พระภูมิเจ้าที่ แม่ซื้อพันจิต พระผู้ศักดิ์สิทธิ์ 
ที่นำข้าพเจ้ามาเกิดในท้องพระพุทธศาสนา แม่พระคงคาไหล แม่พระเพลิง 
แม่พระพาย แม่พระฉูดฉาด พญายมราช ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ นายสมุห์บัญชี 
ตัวข้าพเจ้านี้ได้กระทำผิด จะขอแผ่อุทิศไปยังฝูงผีทั้งหลาย ปิดอบายให้มั่น 
เปิดประตูสวรรค์ให้สว่างกระจ่างแจ้ง เกิดในเมืองมนุษย์ให้เป็นสุข เกิดในเมืองสวรรค์ให้เป็นสุข 
ท่านทั้งหลายที่ได้ทุกข์ ขอให้พ้นจากทุกข์ ท่านทั้งหลายที่ได้สุข ขอให้สุขยิ่งๆ นิพพานัง ปัจจโย โหนตุ
พุทธัง ชั่วอนันตัง ธัมมัง ชั่วจักวาลัง สังฆัง นิพพานัง ปัจจโย โหตุ
**************************

และพวกวิญญาณทั้งหลายยังบอกว่า ถ้าสวดภาวนาเป็นประจำ ไม่ใช่แต่พวกเขาเท่านั้นจะพ้นจากห่วงทุกข์ ผู้สวดเองก็จะมีแต่ความสุข สิ่งชั่วร้ายทั้งหลายจะไม่มากล้ำกรายชีวิต อายุจะยืน

ที่มา : http://board.palungjit.org/f23/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%84-548254.html

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

บทสวด อิติปิโส นพเคราะห์

     อิติปิ โส ภะคะวา ข้าฯ จะไหว้พระอาทิตย์สะเทวา  
     ขอเชิญพระอาทิตย์เสด็จลงมารักษาอายุพวกเรา ได้ ๖ ปี  
     มาเวียนรอบในราศีในเที่ยงคืนในราตรี  ต้องลักษณ์  ต้องจันทร์  ต้องพระเคราะห์ตัวนอก ต้องพระเคราะห์ตัวใน ต้องพระเคราะห์ตัวร้าย ต้องพระเคราะห์ตัวใดๆขอให้กลายเป็นดี เคราะห์วันเคราะห์เดือนเคราะห์ปี เคราะห์วันขอให้เคลื่อน เคราะห์เดือนขอให้คลาย เคราะห์ปีขอให้หายเหมือนน้ำดับไฟหายไปทันที สารพัดทุกข์ สารพัดโศก สารพัดโรค สารพัดภัย สารพัดเสนียดจัญไร ขออย่าให้มีภัย ให้มีแต่ชัยมงคล พ้นโทษที่โทษาวิญญาณสัมปันโน

     อิติปิ โส ภะคะวา ข้าฯ จะไหว้พระจันทร์สะเทวา  
     ขอเชิญพระจันทร์เสด็จลงมา  รักษาอายุพวกเรา ได้ ๑๕ ปี  
     มาเวียนรอบในราศีในเที่ยงคืนในราตรี ต้องลักษณ์ ต้องจันทร์ ต้องพระเคราะห์ตัวนอก ต้องพระเคราะห์ตัวใน ต้องพระเคราะห์ตัวร้าย ต้องพระเคราะห์ตัวใดๆขอให้กลายเป็นดี เคราะห์วันเคราะห์เดือนเคราะห์ปี เคราะห์วันขอให้เคลื่อน เคราะห์เดือนขอให้คลาย เคราะห์ปีขอให้หายเหมือนน้ำดับไฟหายไปทันที สารพัดทุกข์ สารพัดโศก สารพัดโรค สารพัดภัย สารพัดเสนียดจัญไร ขออย่าให้มีภัย ให้มีแต่ชัยมงคล พ้นโทษที่โทษาวิญญาณสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ข้าฯ จะไหว้พระอังคารสะเทวา 
        ขอเชิญพระอังคารเสด็จลงมา รักษาอายุพวกเรา ได้ ๘ ปี
มาเวียนรอบในราศีในเที่ยงคืนในราตรี ต้องลักษณ์ ต้องจันทร์ ต้องพระเคราะห์ตัวนอก ต้องพระเคราะห์ตัวใน ต้องพระเคราะห์ตัวร้าย ต้องพระเคราะห์ตัวใดๆขอให้กลายเป็นดี เคราะห์วันเคราะห์เดือนเคราะห์ปี เคราะห์วันขอให้เคลื่อน เคราะห์เดือนขอให้คลาย เคราะห์ปีขอให้หายเหมือนน้ำดับไฟหายไปทันที สารพัดทุกข์ สารพัดโศก สารพัดโรค สารพัดภัย สารพัดเสนียดจัญไร ขออย่าให้มีภัย
ให้มีแต่ชัยมงคล พ้นโทษที่โทษาวิญญาณสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ข้าฯ จะไหว้พระพุธสะเทวา 
        ขอเชิญพระพุธเสด็จลงมา รักษาอายุพวกเรา ได้ ๑๗ ปี
มาเวียนรอบในราศีในเที่ยงคืนในราตรี ต้องลักษณ์ ต้องจันทร์ ต้องพระเคราะห์ตัวนอก ต้องพระเคราะห์ตัวใน ต้องพระเคราะห์ตัวร้าย ต้องพระเคราะห์ตัวใดๆขอให้กลายเป็นดี เคราะห์วันเคราะห์เดือนเคราะห์ปี เคราะห์วันขอให้เคลื่อน เคราะห์เดือนขอให้คลาย เคราะห์ปีขอให้หายเหมือนน้ำดับไฟหายไปทันที สารพัดทุกข์ สารพัดโศก สารพัดโรค สารพัดภัย สารพัดเสนียดจัญไร ขออย่าให้มีภัย
ให้มีแต่ชัยมงคล พ้นโทษที่โทษาวิญญาณสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ข้าฯ จะไหว้พระพฤหัสสะเทวา 
        ขอเชิญพระพฤหัสเสด็จลงมา รักษาอายุพวกเรา ได้ ๑๙ ปี
มาเวียนรอบในราศีในเที่ยงคืนในราตรี ต้องลักษณ์ ต้องจันทร์ ต้องพระเคราะห์ตัวนอก ต้องพระเคราะห์ตัวใน ต้องพระเคราะห์ตัวร้าย ต้องพระเคราะห์ตัวใดๆขอให้กลายเป็นดี เคราะห์วันเคราะห์เดือนเคราะห์ปี เคราะห์วันขอให้เคลื่อน เคราะห์เดือนขอให้คลาย เคราะห์ปีขอให้หายเหมือนน้ำดับไฟหายไปทันที สารพัดทุกข์ สารพัดโศก สารพัดโรค สารพัดภัย สารพัดเสนียดจัญไร ขออย่าให้มีภัย
ให้มีแต่ชัยมงคล พ้นโทษที่โทษาวิญญาณสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ข้าฯ จะไหว้พระศุกร์สะเทวา
       ขอเชิญพระศุกร์เสด็จลงมา รักษาอายุพวกเรา ได้ ๒๑ ปี
มาเวียนรอบในราศีในเที่ยงคืนในราตรี ต้องลักษณ์ ต้องจันทร์ ต้องพระเคราะห์ตัวนอก ต้องพระเคราะห์ตัวใน ต้องพระเคราะห์ตัวร้าย ต้องพระเคราะห์ตัวใดๆขอให้กลายเป็นดี เคราะห์วันเคราะห์เดือนเคราะห์ปี เคราะห์วันขอให้เคลื่อน เคราะห์เดือนขอให้คลาย เคราะห์ปีขอให้หายเหมือนน้ำดับไฟหายไปทันที สารพัดทุกข์ สารพัดโศก สารพัดโรค สารพัดภัย สารพัดเสนียดจัญไร ขออย่าให้มีภัย
ให้มีแต่ชัยมงคล พ้นโทษที่โทษาวิญญาณสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ข้าฯ จะไหว้พระเสาร์สะเทวา
       ขอเชิญพระเสาร์เสด็จลงมา รักษาอายุพวกเรา ได้ ๑๐ ปี
มาเวียนรอบในราศีในเที่ยงคืนในราตรี ต้องลักษณ์ ต้องจันทร์ ต้องพระเคราะห์ตัวนอก ต้องพระเคราะห์ตัวใน ต้องพระเคราะห์ตัวร้าย ต้องพระเคราะห์ตัวใดๆขอให้กลายเป็นดี เคราะห์วันเคราะห์เดือนเคราะห์ปี เคราะห์วันขอให้เคลื่อน เคราะห์เดือนขอให้คลาย เคราะห์ปีขอให้หายเหมือนน้ำดับไฟหายไปทันที สารพัดทุกข์ สารพัดโศก สารพัดโรค สารพัดภัย สารพัดเสนียดจัญไร ขออย่าให้มีภัย
ให้มีแต่ชัยมงคล พ้นโทษที่โทษาวิญญาณสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ข้าฯ จะไหว้พระราหูสะเทวา 
       ขอเชิญพระราหูเสด็จลงมา รักษาอายุพวกเรา ได้ ๑๒ ปี
มาเวียนรอบในราศีในเที่ยงคืนในราตรี ต้องลักษณ์ ต้องจันทร์ ต้องพระเคราะห์ตัวนอก ต้องพระเคราะห์ตัวใน ต้องพระเคราะห์ตัวร้าย ต้องพระเคราะห์ตัวใดๆขอให้กลายเป็นดี เคราะห์วันเคราะห์เดือนเคราะห์ปี เคราะห์วันขอให้เคลื่อน เคราะห์เดือนขอให้คลาย เคราะห์ปีขอให้หายเหมือนน้ำดับไฟหายไปทันที สารพัดทุกข์ สารพัดโศก สารพัดโรค สารพัดภัย สารพัดเสนียดจัญไร ขออย่าให้มีภัย
ให้มีแต่ชัยมงคล พ้นโทษที่โทษาวิญญาณสัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ข้าฯ จะไหว้พระเกตุสะเทวา 
        ขอเชิญพระเกตุเสด็จลงมา รักษาอายุพวกเรา ได้ ๙ ปี
มาเวียนรอบในราศีในเที่ยงคืนในราตรี ต้องลักษณ์ ต้องจันทร์ ต้องพระเคราะห์ตัวนอก ต้องพระเคราะห์ตัวใน ต้องพระเคราะห์ตัวร้าย ต้องพระเคราะห์ตัวใดๆขอให้กลายเป็นดี เคราะห์วันเคราะห์เดือนเคราะห์ปี เคราะห์วันขอให้เคลื่อน เคราะห์เดือนขอให้คลาย เคราะห์ปีขอให้หายเหมือนน้ำดับไฟหายไปทันที สารพัดทุกข์ สารพัดโศก สารพัดโรค สารพัดภัย สารพัดเสนียดจัญไร ขออย่าให้มีภัย
ให้มีแต่ชัยมงคล พ้นโทษที่โทษาวิญญาณสัมปันโน

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

บทสวดนพเคราะห์ต่ออายุ

บทสวดนพเคราะห์ต่ออายุ
พระครูโกวิทพัฒโนดม (หลวงปู่เกลี้ยง เตชธมฺโม)
วัดโนนแกด อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ



ขั้นตอนลำดับขั้นพิธีการ

๑. ประธานจุดธูปเทียน บูชาพระรัตนตรัย
๒. อาราธนาศีล ๕
๓. ประธานสงฆ์ให้ศีล
๔. อาราธนาพระปริตร
๕. พระสงฆ์ชุมนุมเทวดา ตั้งนะโม ๓ จบ

พุทธัง เตอายุ ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง เตอายุ ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง เตอายุ ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง เตอายุ ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง เตอายุ ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง เตอายุ ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง เตอายุ ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง เตอายุ ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง เตอายุ ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ

- สัมพุทเธ
- นะโมการะอัฏฐะกะคาถา (นะโม ๘)
- มังคะละสุตตัง (อะเสวะนา)
- ระตะนะสุตตัง (ยังกิญจิ วิตตัง)
- กะระณียะเมตตะสุตัง (กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ)
- บทขัดขันธะปะริตตะคาถา (สัพพาสีวีสะชาตีนัง)
- ขันธะปะริตตะคาถา (อัปปะมาโณ)
- โมระปะริตตัง (อุเทตะยัญจักขุมา)
- วัฏฏะกะปะริตตัง (อัตถิ โลเก สีละคุโณ)
- อาฏานาฏิยะปะริตตัง (วิปัสสิสสะ นะมัตถุ)
(นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง)
(ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก)
- อังคุลิมาละปะริตตัง (ยะโตหัง)
- โพฌชังคะปะริตรตัง (โพฌชังโค สะติสังขาโต)
- อะภะยะปะริตตัง (ยันทุนนิมิตตัง)

มงคลจักรวาลน้อย (ต่อตุยหัง)

สัพพะพุทธานุภาเวนะ สัพพะธัมมานุภาเวนะ สัพพะสังฆานุภาเวนะ พุทธะระตะนัง ธัมมะระตะนัง สังฆะระตะนัง ติณณัง ระตะนานังอานุภาเวนะ จะตุราสีติสะหัสสะธัมมานุภาเวนะ ปิฏะกัตตะยานุภาเวนะ ชินะสาวะกานุภาเวนะ สัพเพ เต โรคา สัพเพ เต ภะยา สัพเพ เต อันตะรายา สัพเพ เต อุปัททะวา สัพเพ เต ทุนนิมิตตา สัพเพ เต อะวะมังคะลา วินัสสันตุฯ ตุยหัง สัพพะโรคะโสกุปัททะวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา วินัสสันตุ สัพพะอันตรายาปิ วินัสสันตุ สัพพะสังกัปปา ตุยหัง สะมิฌชันตุ ทีฆายุตา ตุยหัง โหตุ สะตะวัสสะชีเวนะสะมังคิโก โหตุ สัพพะทาฯ อากาสะปัพพะตะวะนะภูมิคังคามะหาสะมุททาอารักขะกา เทวะตา สะทา ตุมเห อะนุรักขันตุฯ (๓ จบ).

อุณณะหิสสะวิชะยะคาถา

อัตถิ อุณณะหิสสะ วิชะโย ธัมโม โลเก อะนุตตะโร สัพพะสัตตะหิตัตถายะ
ตัง ตะวัง คุณหาหิ เทวะเต ปะริวัชเช ราชะทัณเฑ อะมะนุสเสหิ ปาวะเก
พะยัคเฆ นาเค วิเส ภูเต อะกาละมะระเณนะ วา สัพพัสสะมา มะระณา มุตโต
ฐะเปตตะวา กาละมาริตัง ตัสเสวะ อานุภาเวนะ โหตุ เทโว สุขี สะทา สุทธะสีลัง สะมาทายะ ธัมมัง สุจะริตตัง จะเร ตัสเสวะ อานุภาเวนะ โหตุ เทโว สุขี สะทา
ลิกขิตัง จินติตัง ปูชัง ธาระณัง คะรุง ปะเรสัง เทสะนัง สุตตะวา ตัสสะ อายุ
ปะวัฑฒะตีติฯ
(๓ จบ).

คาถาสวดธาตุ ๔

ปัฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ (๓ จบ).

พระคาถาต่ออายุ

อิติปิโส ภะคะวา พระอาทิตย์เทวา วิญญาณะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา พระจันเทวา วิญญาณะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา พระอังคารเทวา วิญญาณะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา พระพุธเทวา วิญญาณะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา พระพฤหัสเทวา วิญญาณะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา พระศุกร์เทวา วิญญาณะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา พระเสาร์เทวา วิญญาณะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา พระราหูเทวา วิญญาณะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา พระเกตุเทวา วิญญาณะ สัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง
อิติปิโส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
อิติปิโส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา สุคะโต
อิติปิโส ภะคะวา โลกะวิทู
อิติปิโส ภะคะวา อะนุตตะโรปุริสะ ทัมมะสาระถิ
อิติปิโส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง
อิติปิโส ภะคะวา พุทโธ
อิติปิโส ภะคะวา ภะคะวาติ. (สวด ๓ จบ)
- ชะยะปริตรตัง (สวดชะยันโต ๓ จบ)
- เทวะตาอุยโยชะนะคาถา (ทุกขัปปัตตา)
- ภะวะตุ สัพพะมังคะลังฯ



วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

อุณณะหิสสะวิชะยะคาถา

อัตถิ  อุณหิสสะ  วิชะโย                   ธัมโม  โลเก  อะนุตตะโร
สัพพะสัตตะหิตัตถายะ                      ตัง  ตวัง  คัณหาหิ  เทวะเต
ปะริวัชเช  ราชะทัณเฑ                      อะมะนุสเสหิ  ปาวะเก
พะยัคเฆ   นาเค  วิเส   ภูเต               อะกาละมะระเณนะ  วา
สัพพัสมา  มะระณา  มุตโต                ฐะเปตวา  กาละมาริตัง
ตัสเสวะ  อานุภาเวนะ                       โหตุ  เทโว  สุขี   สะทา
สุทธะสีลัง  สะมาทายะ                     ธัมมัง สุจะริตัง  จะเร
ตัสเสวะ  อานุภาเวนะ                       โหตุ  เทโว สุขี  สะทา
ลิกขิตัง  จินติตัง ปูชัง                       ธาระณัง  วาจะนัง คะรุง
ปะเรสัง  เทสะนัง  สุตวา                   ตัสสะ  อายุ  ปะวัฑฒะตีติ

คำแปล :

ขอพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เอาบุญของข้าพเจ้าทุกชาติให้กับบิดามารดา ครูอาจารย์ เทพเทวดา เชื้อโรคในตัวข้าพเจ้าเจ้ากรรมนายเวรเจ้าบุญนายคุณของข้าพเจ้า ขอให้เจ้ากรรมนายเวร เจ้าบุญนายของคุณข้าพเจ้า ได้โปรดอนุโมทนาบุญ และอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าตั้งแต่บัดนี้เถิด ..
แม้แต่กรรมใดที่ใครทำไว้แก่ข้าพเจ้าก็ตาม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมทั้งสิ้น ยกถวายแด่พระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน เพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมใดๆ ต่อไป ด้วยอานิสงส์แห่งอภัยทานนี้ คุ้มครองข้าพเจ้า บิดามารดา ครูบาอาจารย์ คู่ครอง ญาติมิตร บุตรบริวาร ตลอดจนผู้อุปถัมภ์
ข้าพเจ้า มีความสุขความเจริญ สุขภาพแข็งแรง มีดวงตาที่เห็นธรรมพบเจอแต่กัลยาณมิตร เทอญ ..



อุณหัสสวิชัยสูตร พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต


ผู้ใดมาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่งแล้ว ผู้นั้นย่อมชนะได้ซึ่งความร้อน อุณหัสสคือความร้อนอันเกิดแก่ตน มีทั้งภายในและภายนอก ภายนอกมีเสือสางคางแดง ภูตผีปีศาจ เป็นต้น ภายในคือกิเลส วิชัยคือความชนะ ผู้ที่มาน้อมเอาสรณะทั้งสามนี้เป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมจะชนะความร้อนเหล่านั้นไปได้หมดทุกอย่างที่เรียกว่า

"อุณหัสสวิชัย อุณหสฺสวิชดย ธมฺโม โลเก อนุตฺตโร" 
พระธรรมเป็นของยิ่งในโลกทั้งสาม สามารถชนะซึ่งความร้อนอกร้อนใจอันเกิดแต่ภัยต่างๆ

"ปริวชฺเช ราชทนฺเฑ พยคฺเฆ นาเค วีเส ภูเต อกาลมรเณน จ สพฺพสฺม มรณา มุตฺโต "
จะเว้นห่างจากอันตรายทั้งหลายคือ อาชญาของพระราชา เสือสาง นาค ยาพิษ ภูตผี ปีศาจ หากว่ายังไม่ถึงคราวถึงกาลที่จักตายแล้ว ก็จักพ้นไปได้จากความตายด้วยอำนาจ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่ตนน้อมเอาเป็นสรณะที่พึ่งที่นับถือนั้น ความข้อนี้มีพระบาลีสาธกดังจะยกมาอ้างอิง
ในสมัยเมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยพระอรหันต์หนุ่ม 500 รูป ประทับอยู่ในราวป่ามหาวันใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ เทวดาทั้งหลายพากันมาดู แล้วกล่าวคาถาขึ้นว่า

"เยเกจิ พุทฺธํ สรณํ คตา เส น เต คมิสฺ สนฺติ อปายภูมิ ปหาย มานุสํ เทหํ เทวกายํ ปริปูเรสฺสนฺติ "

แปลความว่า บุคคลบางพวกหรือบุคคลไรๆ มาถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะที่พึ่งแล้ว บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ไปสู่อบายภูมิทั้ง 4 มีนรกเป็นต้น เมื่อละร่างกายอันเป็นของมนุษย์นี้แล้ว จักไปเป็นหมู่แห่งเทพดาทั้งหลายดังนี้ สรณะทั้ง 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มิได้เสื่อมสูญอันตรธานไปไหน ยังปรากฏอยู่แก่ผู้ปฏิบัติเข้าถึงอยู่เสมอ ผู้ใดมายึดถือเป็นที่พึ่งของตนแล้ว ผู้นั้นจะอยู่กลางป่าหรือเรือนว่างก็ตาม สรณะทั้งสามก็ปรากฏแก่เราอยู่ทุกเมื่อ จึงว่าเป็นที่พึ่งแก่บุคคลจริง เมื่อปฏิบัติตามสรณะทั้งสามจริงๆ แล้ว จะคลาดแคล้วจากภัยทั้งหลาย อันก่อให้เกิดความร้อนอกร้อนใจได้แน่นอนทีเดียว



คาถาอุณหิสวิชัย(ของเก่า)ได้จากสมุดสมเด็จของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

อัตถิ อุณหิสสะ วิชะโย ธัมโม โลเก อะนุตตะโร
สัพพะ สัตตะ หิตัตถายะ ตัง ตัตวัง คัณหาหิ เทวะเต
ปะริวัชเช ราชะทัณเฑ อะมะนุสเสหิ ปาวะเก
พะยัคเฆ นาเค วิเส ภูเต อะกาละมะระเณนะ วา
สัพพัสสะมา มะระณา มุตโต ฐะเปตะวา กาละมาริตัง
ตัสเสวะ อานุภาเวนะ โหตุ เทโว สุขี สะทา
สุทธะสีลัง สะมาทายะ ธัมมัง สุจะริตัง จะเร
ตัสเสวะ อานุภาเวนะ โหตุ เทโว สุขี สะทา
ลิกขิตัง จินติตัง ปูชัง ธาระณัง วาจะนังคะรุง
ปะเรสัง เทสะนัง สุตตะวา ตัสสะ อายุ ปะวัฑฒะ ตีติฯ
สักกัตวา พุทธะรัตตะนัง โอสะถัง อุตตะมังวะรัง
หิตัง เทวะมะนุสสานัง พุทธะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุ ปัททะวา สัพเพ ทุกขา วูปะสะเมนตุ เมฯ
สักกัตวา ธัมมะรัตตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
ปะริฬาหูปะสะมะนัง ธัมมะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุ ปัททะวา สัพเพ ภะยา วูปะสะเมนตุ เมฯ
สักกัตวา สังฆะรัตตะนัง โอสะถัง อุตตะมังวะรัง
อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง สังฆะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุ ปัททะวา สัพเพ โรคา วูปะสะเมนตุ เมฯ
เภสัชชัง เทวะมะนุสสานัง กฎกัง ติตติการะสัง
อัมพิลัง ละวะณัญเจวะ สัพพะพะยาธิง วินัสสะติ
เอกัทวิติทินัง วาปิ ปัญจะสัตตะทินัง ตะภา
ยาวะ ทุกขา นัสเมนติ ชีวะทานัง กะโรตุ เต
ชีวะทานัง ทะทันตัสสะ อายุ วัณณัง สุขัง พะลัง
ชีวะทานานุภาเวนะ โหตุ เทโว สุขี สะทา
ชีวะทานังปิ ทัตวานะ โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
สะรีระทุกขัง นาเสติ เภสัชชัง ทานมุตตะมัง
ตัสมา กะเรยยะ กัลละยาณัง นิจยัง สัมปะรายะยิกัง
ปุญญานิ ปะระโลกัสมิง ปะติฎฐา โหนติ ปาณิณัง
อิมินา ชีวะทาเนน ตุมหากัง กิง ภะวิสสะติ
ทีฆายุกา สะทา โหนติ สุขิตา โหนติ สัพพะทา
ชีวะทานัง ทะทันตัสสะ อายุ วัณณัง สุขัง พะลัง
ทีฆายุกา สะทา โหนตุ ชีวะทานัง มะหัป ผะลัง
โยโส ทะทาติ สักกัจจัง สีละวันเตสุ ตาทิสุ
ปาณะทานัง วารัง ทัตวา ชีวะทานัง มะหัป ผะลัง
เอวัง มะหิท์ธิกา เอสา ยะทิทัง ปุญญะสัมปะทา
ตัสมา ธีรา ปะสังสันติ ปัณฑิตา กะตะปุญญะตัง
สุโข วิปาโก ปุญญานัง อะธิปาโย สมิชฌะติ
ชิปปัญจะ ปะริโยสาเน นิพพานัง อะธิคัจฉะติ
โย ภาชนะสะหัสเสหิ ปูระณัง วะระโภชะนัง
ทะเทย์ยะ เจ ปะริมาณัญเจ เอกะปัตตัมปิ นาละเภ
พุทธุปปาเท สาริปุตโต เย วัญเญ อัคคะสาวะกา
ปัตตะปูรานุภาเวนะ มาตาปิตา ปะมุจจะตีติ

(จบคาถาอุณหิสวิชัยเพียงเท่านี้)

พระคาถาอุณหิสวิชัย ฉบับนี้เป็นตำราที่ได้จากสมุดสมเด็จของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ท่านว่าอุปเท่ห์ว่าผู้ใดจำเริญพระคาถาอุณหิสวิชัยคาถานี้ หากไม่ถึงกาลมรณะ(สิ้นอายุขัย)ย่อมปราศจากโรคภัยไข้เจ็บแข็งแรง แม้ในทางโหราศาสตร์ว่าชะตาขาด แต่หากมีใจยึดเกาะเอาคุณแห่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสังฆเจ้า และภาวนามนต์นี้ก็จักอาจต่อชะตาไปได้โดยไม่ต้องทำพิธีให้ยุ่งยากเพียงแต่เคารพเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระอริยสังฆเจ้าภาวนาก่อนนอนทุกวันกันชะตาขาดได้ พระคาถานี้อย่างเต็ม พระมหาจ่าง วัดสุทัศน์ท่านว่าจัดเป็นสิ่งสำคัญจะต้องจารในชนวนพระกริ่งของสมเด็จสังฆราชแพ ทำให้พระกริ่งยุคก่อนค่อนข้างเข้มขลังกว่าสมัยนี้ที่หล่อสำเร็จแล้วเสกที่หลัง หลวงตาแยบ วัดโรงช้าง จังหวัดพิจิตร ได้ตำราสมุดสมเด็จมา ท่านได้เมตตาสั่งสอนหลวงพ่อโบ้ บิดาของข้าพเจ้า เมื่อบิดาของข้าพเจ้าบวช ก็ได้กำชับว่าให้ภาวนาคาถานี้อย่าขาดเมื่อวานที่ผู้เขียนแพ้ยาก็ภาวนาพระคาถานี้ก็หายก่อนหมอจะฉีดยาแก้แพ้ให้เลยขอนำลงเป็นวิทยาธาร เผยแพร่กิตติคุณพระพุทธคาถานี้และอนุรักษ์คำของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีไว้ไม่ให้หายไปไหนผุ้ใดจะใช้คาถานี้ให้รำลึกถึงเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี หลวงตาทวด แย่บ อัตถพาโร วัดโรงช้าง พิจิตรก่อนก็ดี ท่านทั้งสองจะได้มาอนุโมทนาสาธุการจำเริญพรให้พระคาถานี้คงศักดิ์สิทธิ์ขึ้นกว่าเดิมแล

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

คาถามงกุฏพระพุทธเจ้า พร้อมคำแปล

พระคาถา "มงกุฏพระพุทธเจ้า" เป็นพระคาถาโบราณ เก่าแก่ ไม่ทราบ แน่นอนว่า ท่านผู้ใดผูกขึ้น แต่จากคำแปล จะพบว่า มีการร้อยกรอง โยงกลับไปมา น่าพิศวง

คุณวิเศษ ของคาถานี้ จึงมิใช่เพื่อ อัญเชิญพระธาตุ หรือเสกของกิน ให้สัตว์เชื่องเท่านั้น แต่คือการ นอบน้อมจิตใจ เข้าถึงพระพุทธเจ้า การอธิษฐานจิตต่างๆ จึงสำเร็จผล ได้เป็นอัศจรรย์

( ************************  นะโมฯ ๓ จบ************************ )

อิติปิโส วิเสเส อิ

แม้เพราะเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงวิเศษ

อิเสเส พุทธะนาเม อิ

เพราะวิเศษ ควรนอบน้อมพระพุทธเจ้า

อิ เมนา พุทธะตังโส อิ

เพราะนอบน้อมพระพุทธเจ้า เราจะเข้าถึงพระองค์

อิ โสตัง พุทธะปิติ อิ

เพราะเราเข้าถึงพระองค์ ก็จะปีติในพระพุทธเจ้า

( *********************** สวด ๙ จบ ********************************)

หมายเหตุ : ทุกคาถา มีครู มีเจ้าของ พึงไหว้สาธุ บูชาครู ให้ถูกต้อง ก่อนเรียน ก่อนใช้ พระคาถา อย่างน้อยที่สุด ก็พึงแสดง ความเคารพ ต่อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นบรมครู ด้วยการว่า นะโมฯ ๓ จบ แล้วจึงค่อยว่า ตัวพระคาถา ด้วยความเคารพเลื่อมใส และศรัทธาที่ตั้งมั่น ความปรารถนา อันเป็นฝ่ายกุศล ไม่เบียดเบียนใคร ของเรา ก็จักพึงสำเร็จผล เป็นอัศจรรย์


วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

คาถาเงินล้าน

*********( ตั้งนโม 3 จบ )***********

สัมปะจิตฉามิ นาสังสิโม
พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ (คาถาปัดอุปสรรค)
พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุ เม (คาถาเงินแสน)
มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุ เม (คาถาลาภไม่ขาดสาย)
มิเตพาหุหะติ (คาถาเงินล้าน)
พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง
วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ
มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม(คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า)
สัมปะติจฉามิ(คาถาเร่งลาภให้ได้เร็วขึ้น)
เพ็งๆพาๆหาๆฤาๆ

(บูชากี่จบก็ได้ ตัวคาถาต้อว่าทั้งหมด ข้อความอธิบายในวงเล็บไม่ต้องสวด)
(พรหมา-อ่านว่า พรม-มา)
(สวาโหม-อ่านว่า สะ-หวา-โหม)

พระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

บทสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร พร้อมคำแปล

เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯ 

ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี ฯ 

ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ

ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติเหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟังและพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ฯ 

เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติให้หนักไปในส่วนที่สุด ๒ อย่าง คือ 

โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน (ถ้ามีการตรวจคำหยาบ..ตรงนี้ให้ออกเสียงว่า ฮีโน..นะครับ) คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต

การประพฤติปฏิบัติตนเพื่อแสวงหาความสุขอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่ารักน่าปรารถนา ซึ่งเป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ต้องมีบ้านเรือน เป็นธรรมของคนผุ้ครองเรือนผู้หนาไปด้วยกิเลส ไม่ใธรรมอันจะนำจิตใจออกจากกิเลส ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย นี่อย่างหนึ่ง 

โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
 

และอีกอย่างหนึ่ง คือ การประพฤติปฏิบัติด้วยการทรมานร่างกายให้ได้รับความลำบาก ซึ่งมีแต่ทำให้ใจเป็นทุกข์ทรมานอย่างเดียว ไม่เป็นทางนำจิตใจออกจากกิเลส และไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจท้งหลาย ฯ (หรืออีกนัยหนึ่งคือ เร่งหักโหมปฏิบัติธรรมจนเกินกำลัง เพื่อหวังจะได้บรรลุมรรคผลเร็ว ๆ ) 

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนะปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้รู้ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง โดยไม่เข้าไปใกล้ส่วนที่สุด ๒ อย่างนั้นแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง 

จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ 

ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น สามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ฯ 

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น คือการปฏิบัติอย่างไร? 

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ 

ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนี้ คือ ทางนำไปสู่ความไกลจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย มี ๘ อย่าง ฯ 

เสยยะถีทัง 

ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือ 

สัมมาทิฏฐิ


ปัญญาอันเห็นชอบ ( คือ เห็นอริยสัจ ) 

สัมมาสังกัปโป 

ความดำริชอบ ( คิดจะออกจากกาม ไม่คิดอาฆาตพยาบาท ไม่คิดเบียดเบียน )

สัมมาวาจา

วาจาชอบ ( ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล ) 

สัมมากัมมันโต

การงานชอบ ( เว้นจากการทุจริต เช่น โกงแรงงานเขาเป็นต้น และทำการงานที่ไม่มีโทษ ) 

สัมมาอาชีโว

การเลี้ยงชีวิตชอบ ( หากินโดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดประเพณี ) 

สัมมาวายาโม

ความเพียรชอบ ( เพียรละชั่ว ประพฤติดีเพื่อให้มีคุณธรรมประจำใจ และเพื่อให้ได้คุณธรรมสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป ) 
สัมมาสะติ

การระลึกชอบ ( ระลึกนึกถึง อนุสสติ ๑๐ ประการ มีพระนิพพานเป็นที่สุด และระลึกในมหาสติปัฏฐาน ๔ )

สัมมาสะมาธิ ฯ

การตั้งจิตไว้ชอบ ( การทำสมาธิให้อารมณ์ตั้งมั่นในอนุสสติ ๑๐ ประการนั้น ) ฯ 
( หรือกล่าวโดยย่อ มรรค ๘ ประการนี้ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ) 


อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางเหล่านี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ 


อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สภาวะเหล่านี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ 

ชาติปิ ทุกขา

ความเกิดก็เป็นทุกข์ 

ชะราปิ ทุกขา

เมื่อความแก่เข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์ 

มะระณัมปิ ทุกขัง

เมื่อความตายเข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์ 

โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา 


เมื่อความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจเกิดขึ้นมา ก็เป็นทุกข์ 

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข

เมื่อประสบพบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์ 

ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข

เมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจก็เป็นทุกข์ 

ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง

และแม้คิดปรารถนาอยากได้สิ่งใด แต่ไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ก็เป็นทุกข์ 

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ

กล่าวโดยย่อแล้วก็คือ การหลงคิดว่าร่างกายเป็นของเราของเขานั่นแล เป็นตัวทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง ฯ 

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ยายัง ตัณหา 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้แลเป็นต้นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง 


โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภินันทินี เสยยะถีทัง กามะตัณหา 


คือ มีความอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป และมีความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา ก็เป็นเหตุให้ใจเกิดทุกข์ 

ภะวะตัณหา

สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็คิดอยากจะให้มีขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้ใจเกิดทุกข์ 

วิภะวะตัณหา

และเมื่อมีทุกอย่างสมปรารถนาแล้ว ก็อยากจะให้ทุกอย่างคงทนอยู่ตลอดไป เมื่อมันจะต้องสลายหายไป ก็ร้อนใจไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้ใจเกิดทุกข์หนักขึ้นอีก ฯ 

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละ วาง ปล่อย และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง ฯ 

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจนี้ มี ๘ อย่าง คือ ปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตไว้ชอบ คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำใจให้หมดจากกิเลสและดับความทุกข์ได้อย่งแท้จริง ฯ 

อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ 

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจ เป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ 


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริงนั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ตลอดเวลา" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่งแท้จริงนี้นั้นแล เราได้หยั่งรู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว" ฯ 

อิทัง ทุกขะสุมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้ เป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ 


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องละให้ขาด" ฯ 

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ (ให้อ่านว่า ปะฮีนันติ) เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ละขาดไปจากใจแล้ว" ฯ 

อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา" ฯ 

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้แจ้งในใจอยู่ตลอดเวลาแล้ว" ฯ 

อิทัง ทุกขะนิโรธคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ เป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา" ฯ 


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว" ฯ 

ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจริง ๔ อย่าง อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ ถ้าหากเรายังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ 
( อาการ ๑๒ รอบนี้ เรียกว่า ญาณ ๓ คือ 
1. สัจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดในความจริงแต่ละอย่างในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่าเป็นทุกข์แท้จริง , ตัณหาคือเหตุเกิดทุกข์แท้จริง , การดับตัณหาคือการดับทุกข์ได้แท้จริง , มรรคคือ ทาง ๘ ประการเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง
2. กิจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดว่า จะต้องทำอย่งไรกับความจริงแต่ละอย่างนั้น ว่า ตัวทุกข์ควรต้องกำหนดรู้ตลอดเวลา , ตัณหาต้องละให้ขาด , การดับตัณหาเป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา , มรรค ๘ เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา และ 
3. กตญาณ : การหยั่งรู้ว่าได้ทำหน้าที่ทุกอย่างในความจริงแต่ละอย่างนั้นได้โดยบริบูรณ์แล้ว คือ ทุกข์รู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว , ตัณหาได้ละขาดไปจากใจแล้ว , การดับตัณหาได้ทำให้แจ้งในใจตลอดเวลาแล้ว , มรรค ๘ ได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว )

เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เพียงนั้น ว่าเราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือ ของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ 

ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ความจริง ๔ อย่ง อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ เราได้รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์หมดจดแล้ว ฯ 

อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงกล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เฉพาะว่า เราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ 


ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ 

ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า "กิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลายไม่สามารถจะกำเริบขึ้นมาได้อีกแล้ว จิตของเราได้หลุดพ้นจากกิเลสโดยวิเศษแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเราแล้ว บัดนี้ไม่มีภพเป็นที่เกิดสำหรับเราอีกแล้ว" ฯ

อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ 

ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความจริง ๔ อย่างอันประเสริฐ อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสอย่างนี้แล้ว ฯ 

อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ 

พระภิกษุปัจจวัคคีย์เหล่านั้น ก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้น ฯ 
อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน 
ก็ในเมื่อขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกล่าวแสดงความละเอียดพิศดารแห่งความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการอยู่นั่นแล 

อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ "ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ" ฯ 

ดวงตาคือ ปัญญาอันเห็นธรรม ซึ่งปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแล้วแก่ท่านโกณทัญญะ ผู้มีอายุอย่างนี้ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้น ๆ ทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา" ฯ 

ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก 

ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงประกาศวงล้อแห่งธรรมให้เป็นไปแล้วนั่นแล 

ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง

ภูมิเทวดาทั้งหลาย ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า 

"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ 

"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้" 

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวดา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ 

เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ 

จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ 

เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ 


ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ 

เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ 


ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ 

เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ 

ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ 


นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ 


ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สังททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง 

เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า 

"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ 

"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึง เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้" ฯ

อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ 

และโดยขณะเดียวเท่านั้น เสียงก็ดังขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยอาการอย่างนี้ ฯ 


อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ

และเสียงนี้ได้สะท้านสะเทือนหวั่นไหว ดังสนั่นไปตลอดทิศทั้ง ๔ ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ ฯ 
อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ 
อีกทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ 

อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ "อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ" ฯ

ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า "โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ" ฯ (อัญญาสิ : ได้รู้แล้ว) 

อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ "อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ

เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานขึ้นมาอย่างนี้แล นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นแหละ ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แลฯ

บทสวด กรณียเมตตสูตร พร้อมคำแปล

บทขัดกะระณียะเมตตะสุตตัง 

ยัสสานุภาวะโต ยักขา ยัมหิ เจวานุยุญชันโต
สุขัง สุปะติ สุตโต จะ เอวะมาทิคุณูเปตัง
เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง รัตตันทิวะมะตันทิโต
ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ

แปลบทขัดกะระณียะเมตตะสุตตัง
เหล่าเทพยาทั้งหลาย ย่อมไม่แสดงอาการอันน่าสะพรึงกลัว เพราะอานุภาพแห่งพระปริตรนี้ อนึ่งบุคคลไม่เกียจคร้าน สาธยายอยู่เนือง ๆ ซึ่งพระปริตรนี้ ทั้งในกลางวันและกลางคืนย่อมหลับเป็นสุข ขณะหลับย่อมไม่ฝันร้าย ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงสวดพระปริตร อันประกอบไปด้วยคุณดังกล่าวมา ดังนี้เทอญ

บทกะระณียะเมตตะสุตตัง 

ทำให้หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย เทพพิทักษ์รักษา ไม่มีภยันตราย จิตเป็นสมาธิง่าย ใบหน้าผ่องใส มีสิริมงคล ไม่หลงสติในเวลาเสียชีวิต และเป็นพรหมเมื่อบรรลุเมตตาฌาน

๑. กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ . . . . . . . ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ . . . . . . . . . . . . สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี

กิจที่คนฉลาดในสิ่งที่มีประโยชน์ และมุ่งหมายจะบรรลุทางสงบ จะพึงทำ ก็คือ เป็นคนกล้า, เป็นคนซื่อ, เป็นคนตรง, ว่าง่าย, อ่อนโยน, ไม่เย่อหยิ่ง


๒. สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ . . . . . . . .อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินท์ริโย จะ นิปะโก จะ . . . . . . . . อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ

เป็นผู้สันโดษ, เลี้ยงง่าย, มีภาระกิจน้อย, คล่องตัว, ระมัดระวังการแสดงออก, รู้ตัว, ไม่คะนอง, ไม่คลุกคลีในตระกูลทั้งหลาย


๓. นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ . . . . . เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ . . . . . . . . . . . . สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

ไม่ประพฤติสิ่งที่วิญญูชนตำหนิติเตียนได้, พึงแผ่เมตตาจิตว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงมีความสุขกายสบายใจ มีความเกษมสำราญเถิด


๔. เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ . . . . . . . . . . . . .ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา เย มะหันตา วา . . . . . . . . . . .มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา

ขอสัตว์ทั้งหลายบรรดามี ที่เป็นสัตว์ตัวอ่อน หรือตัวแข็งก็ตาม เป็นสัตว์-มีลำตัวยาวหรือ ลำตัวใหญ่ก็ตาม มีลำตัวปานกลาง หรือตัวสั้นก็ตาม ตัวเล็กหรือตัวโตก็ตาม


๕. ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา . . . . . . . . . เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วา . . . . . . . . . . . . .สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

ที่มองเห็นหรือมองไม่เห็นก็ตาม ที่อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ก็ตาม ที่เกิดแล้ว หรือ กำลังหาที่เกิดอยู่ก็ตาม ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงนั้นจงสุขกายสบายใจเถิด


๖. นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ . . . . . . . . .นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
พ์ยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา . . . . . . .นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ

บุคคลไม่พึงหลอกลวงผู้อื่น ไม่ควรดูหมิ่นเหยียดหยามใคร ๆ ไม่ควรมุ่งร้าย ต่อกันและกัน เพราะมีความขุ่นเคืองโกรธแค้นกัน


๗. มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง . . . . . . . . . . อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ . . . . . . . . . . . . . . มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

คนเราพึงแผ่ความรักความเมตตา ไปยังสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ดุจดังมารดาถนอม และปกป้องบุตรสุดที่รักคนเดียวด้วยชีวิต ฉันนั้น


๘. เมตตัญจะ สัพพะโลกัส์มิง . . . . . . . . .มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ . . . . . . . . . . อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
พึงแผ่เมตตาจิต ไม่มีขอบเขต ไม่คิดผูกเวร ไม่เป็นศัตรู อันหาประมาณไม่ได้ ไปยังสัตว์โลกทั้งปวงทั่วทุกสารทิศ


๙. ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา . . . . . . . . . . . สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ . . . . . . . . . . พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ

ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ตลอดเวลาที่ตนยังตื่นอยู่ พึงตั้งสติ อันประกอบด้วยเมตตานี้ให้มั่นไว้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า การอยู่ด้วยเมตตานี้ เป็นพรหมวิหาร (การอยู่อย่างประเสริฐ)


๑๐. ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา . . . . .ทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง . . . . . . . . . . . . . .นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ

ท่านผู้เจริญเมตตาจิต ที่ละความเห็นผิดแล้ว มีศีล มีความเห็นชอบ ขจัดความใคร่ ในกามได้ ก็จะไม่กลับมาเกิดอีกเป็นแน่แท้

บทสวด ระตะนะสุตตัง (รัตนสูตร) พร้อมคำแปล

ขัดระตะนะสุตตัง 

ราชะโต วา โจระโต วา มะนุสสะโต วา อะมะนุสสะโต วา อัคคิโต วา อุทะกะโต วา ปิสาจะโต วา ขาณุกะโต วา กัณฏะกะโต วา นักขัตตะโต วา ชะนะปะทะโรคะโต วา อะสัทธัมมะโต วา อะสันทิฏฐิโต วา อะสัปปุริสะโต วา จัณฑะหัตถิอัสสะมิคะโคณะกุกกุระอะหิวิจฉิกะมะนิสัปปะทีปิอัจฉะตะ รัจฉะสุกะระมะหิสะ ยักขะรักขะสาทีหิ นานาภะยะโต วา นานาโรคะโต วา นานาอุปัททะวะโต วา อารักขังคัณหันตุ ฯ

- ขอเหล่าเทพดาจงคุ้มครองให้พ้นจากราชภัย โจรภัย มนุสสภัย อมนุสสภัย อัคคีภัย อุทกภัย ภัยจากปีศาจ ภัยจากเคราะห์ร้ายยามร้าย จากโรคภัยไข้เจ็บ จากอสัทธรรม จากมิจฉา ทิฏฐิ คือความเห็นผิด จากคนชั่ว จากภัยต่างๆ อันเกิดแต่สัตว์ร้ายนานาชนิด และจากอมนุษย์ มียักษ์และนางผีเสื้อน้ำ เป็นต้น จากโรคต่างๆ จากอุปัททวะต่างๆ

ปะณิธานะโต ปัฏฐายะ ตะถาคะตัสสะ ทะสะ ปาระมิโย ทะสะ อุปะปาระมิโย ทะสะ ปะระมัตถะปาระมิโย ปัญจะ มะหาปะริจจาเค ติสโส จะริยา ปัจฉิมัพภะเว คัพภาวักกันติง ชาติง อะภินิกขะมะนัง ปะธานะจะริยัง โพธิปัลลังเก มาระวิชะยัง สัพพัญญุตะญาณัปปะฏิเวธัง นะวะ โลกุตตะระธัมเมติ สัพเพปิเม พุทธะคุเณ อาวัชชิตวา เวสาลิยา ตีสุ ปาการันตะเรสุ ติยามะรัตติง ปะริตตัง กะโรนโต อายัสมา อานันทัตเถโร วิยะ การุญญะจิตตัง อุปัฏฐะเปตวา ฯ

- เราทั้งหลาย จงตั้งจิตอันประกอบไปด้วยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ดังพระอานนทเถระผู้มีอายุ นึกถึงพระพุทธคุณทั้งหลายแม้ทั้งปวงของพระตถาคตเจ้า จำเดิมแต่ปรารถนาพุทธภูมิมา คือบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ มหาบริจาค ๕ จริยา ๓ เสด็จลงสู่คัพโภทร ในภพมีในที่สุด ประสูติ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ บำเพ็ญทุกขกิริยาชนะมาร ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ ณ โพธิบัลลังก์นวโลกุตรธรรม ๙ ดังนี้ แล้วกระทำพระปริตรตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม ในภายในกำแพง ๓ ชั้น ในเมืองเวสาลี

โกฏิสะตะสะหัสเสสุ จักกะวาเฬสุ เทวะตา ยัสสาณัมปะฏิคคัณหันติ ยัญจะ เวสาลิยัมปุเร
โรคามะนุสสะทุพภิกขะสัมภูตันติวิธัมภะยัง ขิปปะมันตะระธาเปสิ ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ

- เทวดาทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาล ย่อมรับเอาแม้ซึ่งอาชญาแห่งพระปริตรอันใด อนึ่ง พระปริตรอันใด ยังภัย ๓ ประการอันเกิดจากโรค อมนุษย์ และข้าวแพงในเมืองเวสาลี ให้อันตรธานไปโดยเร็วพลัน เราทั้งหลาย จงสวดพระปริตรอันนั้นเทอญ.

บทระตะนะสุตตัง

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
สัพเพ วะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง
ตัสมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ
ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง ตัสมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา ฯ

- หมู่ภูตประจำถิ่นเหล่าใด ประชุมกันแล้วในนครนี้ก็ดี เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี ขอหมู่ภูตทั้งปวงจงเป็นผู้ดีใจและจงฟังภาษิตโดยเคารพ เพราะเหตุนั้นแล ท่านภูตทั้งปวงจงตั้งใจฟัง กระทำไมตรีจิต ในหมู่มนุษยชาติ ประชุมชนมนุษย์เหล่าใด ย่อมสังเวยทั้งกลางวันกลางคืน เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่ประมาท รักษาหมู่มนุษย์เหล่านั้น

ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง
นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง 
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ อันใดอันหนึ่ง ในโลกนี้หรือโลกอื่น หรือรัตนะอันใด อันประณีตในสวรรค์ รัตนะอันนั้นเสมอด้วยพระตถาคตเจ้าไม่มีเลย แม้อันนี้ เป็นรัตนะ อันประณีตในพระพุทธเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี

ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต
นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง 
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- พระศากยมุนีเจ้า มีพระหฤทัยดำรงมั่น ได้บรรลุธรรมอันใดเป็นที่สิ้นกิเลส เป็นที่สิ้นราคะ เป็นอมฤตธรรมอันประณีต สิ่งไรๆ เสมอด้วยพระธรรมนั้นย่อมไม่มี แม้อันนี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี

ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญแล้วซึ่งสมาธิอันใด ว่าเป็นธรรมอันสะอาด บัณฑิตทั้งหลายกล่าวซึ่งสมาธิอันใด ว่าให้ผลโดยลำดับ สมาธิอื่นเสมอด้วยสมาธินั้นย่อมไม่มี แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี

เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- บุคคลเหล่าใด ๘ จำพวก ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว บุคคลเหล่านั้นเป็นสาวกของพระสุคต ควรแก่ทักษิณาทาน ทานทั้งหลาย อันบุคคลถวายในท่านเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี

เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ
เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- พระอริยบุคคลทั้งหลายเหล่าใด ในศาสนาพระโคดมเจ้า ประกอบดีแล้ว มีใจมั่นคง มีความใคร่ ออกไปแล้ว พระอริยบุคคลทั้งหลายเหล่านั้น ถึงพระอรหัตผลที่ควรถึงหยั่งเข้าสู่พระนิพพาน ได้ซึ่งความดับกิเลส โดยเปล่าๆ แล้วเสวยผลอยู่ แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี

ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย
ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- เสาเขื่อนที่ลงดินแล้ว ไม่หวั่นไหวด้วยพายุ ๘ ทิศ ฉันใด ผู้ใด เล็งเห็นอริยสัจทั้งหลาย เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นสัตบุรุษผู้ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม อุปมาฉันนั้น แม้อันนี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี

เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ
กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- พระโสดาบันจำพวกใด กระทำให้แจ้งอยู่ ซึ่งอริยสัจทั้งหลายอันพระศาสดาผู้มีปัญญาอันลึกซึ้งแสดงดีแล้ว พระโสดาบันจำพวกนั้น ยังเป็นผู้ประมาทก็ดี ถึงกระนั้น ท่านย่อมไม่ถือเอาภพที่ ๘ (คือเกิดอีกอย่างมาก ๗ ชาติ) แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี

สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ
สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ
จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อันใดอันหนึ่งยังมีอยู่ ธรรมเหล่านั้น อันพระโสดาบัน ละได้แล้ว พร้อมด้วยทัสสนะสมบัติ (คือโสดาปัตติมรรค) ทีเดียว อนึ่งพระโสดาบันเป็นผู้พ้นแล้ว จากอบายทั้ง ๔ ไม่อาจเพื่อจะกระทำอภิฐานทั้ง ๖ (คืออนันตริยกรรม ๕ และการเข้ารีต) แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี

กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา
อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- พระโสดาบันนั้น ยังกระทำบาปกรรม ด้วยกายหรือวาจาหรือใจได้บ้าง (เพราะความพลั้งพลาด) ถึงกระนั้นท่านไม่ควรเพื่อจะปกปิดบาปกรรมอันนั้น ความเป็นผู้มีทางพระนิพพาน อันเห็นแล้ว ไม่ควรปกปิดบาปกรรมนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี

วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค คิมหานะมาเส ปะฐะมัสมิง คิมเห
ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- พุ่มไม้ในป่า มียอดอันบานแล้ว ในเดือนต้นคิมหะแห่งคิมหฤดูฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมให้ถึงพระนิพพาน เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย มีอุปมาฉันนั้น แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี

วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงทราบธรรมอันประเสริฐ ทรงประทานธรรมอันประเสริฐ ทรงนำมาซึ่งธรรมอันประเสริฐ ไม่มีผู้ยิ่งไปกว่า
ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง
เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- กรรมเก่าของพระอริยบุคคลเหล่าใดสิ้นแล้ว กรรมสมภพใหม่ย่อมไม่มี พระอริยบุคคลเหล่าใด มีจิตอันหน่ายแล้วในภพต่อไป พระอริยบุคคลเหล่านั้น มีพืชสิ้นไปแล้ว มีความพอใจงอกไม่ได้แล้ว เป็นผู้มีปัญญา ย่อมปรินิพพานเหมือนประทีปอันดับไป ฉะนั้น แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- ภูตประจำถิ่นเหล่าใด ประชุมกันแล้วในพระนครก็ดี เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการพระพุทธเจ้าผู้มาแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทพดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมี

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- ภูตประจำถิ่นเหล่าใด ประชุมกันแล้วในพระนครนี้ก็ดี เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการพระธรรมอันมาแล้วอย่างนั้น อันเทพดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมี

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

- ภูตประจำถิ่นเหล่าใด ประชุมกันแล้วในพระนครนี้ก็ดี เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการพระสงฆ์ผู้มาแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทพดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมี. 

บทความที่ได้รับความนิยม