บทความแนะนำ

บทความ ศาสตร์แห่งดวงดาว
เบอร์มงคล 100% ผลรวมดี ทั้งคู่ ทำไมคนหนึ่งชีวิตดีแต่อีกคนชีวิตแย่?!?!?
ตัวเลขส่งเสริมการเงินและโชคลาภ
กลุ่มส่งเสริมการเงิน ตัวเลขมหาอุจจ์
กลุ่มส่งเเสริมการเงิน มหาจักร
กลุ่มส่งเเสริมการเงินราชาโชค
กลุ่มแสดงถึงความมั่นคงทางการเงินและรายได้
ตัวเลข ปัญหา/อุปสรรค/ศัตรู
ตัวเลขส่งเสริมเรื่อง ความรัก และ คู่ครอง
ตัวเลขส่งเสริมเรื่อง ลูกค้าและเพื่อนฝูง
ตัวเลขส่งเสริมเรื่อง ผู้อุปถัมภ์ ความสำเร็จ และ ความรุ่งเรือง
ตัวเลข วินาสน์ (ล่มสลาย,ฉับพลัน,เปลี่ยนแปลง,ที่ลับ,คนแปลกหน้า)
ประสบการณ์ผู้ที่ใช้เบอร์พลังดวงดาวตามลัคนา และมีเงินซื้อรถ 2 คัน บ้าน 2 หลัง
Case Study : เปลี่ยนเบอร์ตามหลักศาสตร์แห่งดวงดาวแล้วขายที่ดินได้ในราคาสูง
แย่แล้ว !!! เบอร์มังกร (789) ทำฉันเป็นหนี้ !!!!
ว่าไงนะ!!! เบอร์หงส์ (289) พ่นพิษ !!! เสียบ้านที่อุตส่าห์ซื้อมา
เบอร์เสน่ห์ตามหลักเลขศาสตร์ VS เลขการเงินตามศาสตร์แห่งดวงดาว
กำลังดวงดาว 9 หมายถึงอะไร?
เบอร์มงคล 10 หลัก ผลรวมดี ทำไมชีวิตฉันจึงลำบาก!!!

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

วิธีแก้กรรม/ลดกรรม ด้วยวิธีใส่บาตรให้ถูกวิธี โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์ ( หลวงพ่อจรัญ )


“ท่านพระธรรมสิงหบุราจารย์ ( หลวงพ่อจรัญ ) ท่านแนะนำว่า …
ก่อนใส่บาตร…
ให้จุดธูป 3 ดอกกลางแจ้ง ขอขมากรรม โดย ตั้ง นะโม 3 จบ...แล้วกล่าวว่า...
"ข้าพเจ้าขอขมากรรม ต่อเจ้ากรรมนายเวร ศัตรู หมู่มาร หมู่พาล ทุกภพทุกชาติ ขอให้อโหสิกรรม ให้ขาดจากกัน"

หลังใส่บาตรเสร็จ…
ทุกครั้ง ให้ ตั้ง นะโม 3 จบ แล้วกล่าวว่า...
"กุศลที่ลูกได้ทำแล้ว ขอถวายแด่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า 5 พระองค์ ขอให้ทุกพระองค์ นำส่งบุญให้ข้าพเจ้า มีเดช ปัญญา โภคะ ขอให้สมหวัง สมปรารถนาทุกเรื่อง ขอให้มีบุญบารมีเต็มขั้น เกิดสภาวะธรรม ตามบุญวาสนาที่ได้ทำมา จากทุกภพทุกชาติโดยเร็วเทอญ และ ขออุทิศให้ เจ้ากรรมนายเวร ทุกภพทุกชาติ (วิญญาณ) ศัตรูหมู่มารหมู่พาล (เช่น มนุษย์,หุ้นส่วน,เพื่อน,ในครอบครัว) ทุกภพทุกชาติ (เอ่ยชื่อได้ยิ่งดี) ขอให้อโหสิกรรม ขอให้ขาดจากกัน ณ เดี๋ยวนี้ เทอญ...ขอให้อุปถัมภ์ค้ำจุนข้าพเจ้า..."

ถ้าทำบุญด้วยข้าวสารเป็นกระสอบ หรือ ถมทราย ดิน ก็ตั้งจิตอธิษฐานว่า …
 "ผลบุญนี้ขอให้ข้าพเจ้าร่ำรวย เหมือนเมล็ดข้าวสาร เม็ดทราย ดิน เจ้ากรรมนายเวร ตามเมล็ดข้าวสาร ตามเม็ดทรายดิน ขอให้ได้รับ และขอให้อโหสิกรรม หลุดขาดจากกัน ณ บัดนี้เดี๋ยวนี้เทอญ ขอให้ข้าพเจ้า มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง พบแต่ ผู้อุปถัมภ์ค้ำชู..."

กรณีที่ดวงตกมาก
ขอให้แผ่บุญให้ตนเอง ให้มาก ๆ บางท่านก็แผ่ให้ผู้อื่น จนลืมให้ตัวเอง ตัวเราเอง ต้องมีบุญบารมี แก่กล้า จริง ๆ จึงจะช่วย และให้ผู้อื่นได้ ควรสวด อิติปิโส ฯ เลยอายุ 1 จบมีเวลาขอให้ไป ปฏิบัติธรรม ฝึกวิปัสสนาด้วย จะเกิดผลเร็ว โทสะจะน้อยลง ควรแผ่เมตตาให้มากๆ วันละ 10 – 30 ครั้ง การแผ่เมตตาที่ได้ผลนั้น ท่านพระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ) แนะนำว่า...
 " ถ้าจะกรวดน้ำ ต้องกรวดน้ำลงดิน ทุกครั้ง วันละ 100 ครั้ง เจ้ากรรมนายเวรจะหาย 100 เท่า 100 วิญญาณ หรือ ใช้สมาธิกำหนดอธิษฐานจิต ด้วยความตั้งใจ ประกอบด้วยความมีสติ และสัมปชัญญะ แผ่เมตตาออกจาก ลิ้นปี่ แล้วอุทิศส่วนกุศล จากจักระ 6 หรือบริเวณตาที่สาม ที่กลางหน้าผาก ต่ำลงเล็กน้อย จะได้ผลมากขึ้น อุทิศบุญ ใช้กับผู้ตาย นำส่งบุญ ใช้กับผู้ยังมีชีวิตอยู่ ถวายบุญกุศล ใช้กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแก้กรรมให้ตนเองได้ผลดีเร็วขึ้น.. "

วิบากกรรมของแต่ละคน ล้วนแตกต่างกันไป บางคนป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ บางคนตกงานบ่อย บางคนลำบากมาก หากินไม่คล่อง บางคนลูกเกเร วิบากกรรมนี้ ตามมาหลายภพหลายชาติ ซึ่งมีส่วนทำให้เรา เกิดมาแตกต่างกัน แต่ อย่าเพิ่งสิ้นหวัง หนทางในการบรรเทาวิบากกรรมนั้นมี ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี ดังนี้
เวลาที่เราทำบุญ หรือทำความดีทุกครั้ง นอกจากบุญที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น การใส่บาตร การถือศีล ฯลฯ แล้วการพูดคุยที่ช่วยให้ผู้อื่นสบายใจ การสนทนาธรรม การให้ธรรมทาน การร่วมบริจาค หนังสือธรรมะ ชี้แนะแนวทาง แก้ไขปัญหาชีวิต ให้กับผู้สิ้นหวัง การทำความสะอาดห้องพระ การถวายน้ำเปล่าเพียง 1 แก้ว ให้กับหิ้งพระพุทธฯ การร่วมอนุโมทนา การทำความดีของผู้อื่น โดยการใช้ จิตน้อมไปทางบุญกุศล การกวาดใบไม้ ทำสวน ทำความสะอาด ห้องน้ำ หรือของส่วนรวม การดูแลคนแก่ เด็ก การที่เรามีจิตใจดี หรือตั้งใจดี ฯลฯ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ล้วนเป็นกุศล และเป็นบุญทั้งสิ้น

ให้ ตั้ง นะโม 3 จบ …
" ข้าพเจ้า (บอกชื่อตัว) นามสกุล เกิดวันที่ วันนี้ ข้าพเจ้าขอตั้งจิต ถึงบารมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วสากลโลก รวมถึง องค์เทพ องค์พรหม ที่ปกปักรักษากายสังขารวิญญาณลูกอยู่ วันนี้ลูกตั้งจิตถวาย (บุญที่ทำ เช่นใส่บาตร ถือศีล สวดมนต์ ให้ทาน ฯลฯ) ลูกขอถวายบุญกุศลนี้ แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกๆ พระองค์ นำส่งบุญให้ลูกเจริญขึ้น ทั้งการงานการเงิน และความรัก ให้ลูกมีเดช ปัญญาโภคะ (ความสมบูรณ์) ทุกภพทุกชาติ และขออุทิศบุญกุศลนี้ ให้กับเจ้ากรรมนายเวรทุกภพทุกชาติ รวมถึงวิญญาณที่ตามมา ทุกผู้ทุกคน ศัตรูหมู่มารหรือหมู่พาล คือมนุษย์ เช่น บริวาร ญาติมิตร คนรับใช้ สามี บุตร ธิดา ทุกภพทุกชาติ ขอให้ได้รับมหากุศลนี้ รับแล้วขอให้อโหสิกรรม ซึ่งกันและกัน ให้ขาดจากกัน ณ.เดี๋ยวนี้บัดนี้ ขอให้ข้าพเจ้า มีบุญบารมีสูงขึ้นๆ เต็มขึ้น เพื่อช่วยสังคมให้สูงขึ้น และสร้างคนให้เป็นพระต่อไป และให้เกิด ปัญญาทางธรรม สมบูรณ์พูนผลทุกอย่าง ด้วยบุญที่ทำนี้เทอญ สาธุ.."

วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

มาทำความรู้จักกับความหมายและตัวแทนของเลข 0 - 9 ในเบอร์โทรศัพท์กัน


เลข 1 ตัวแทน พระอาทิตย์ (ธาตุไฟ) ตัวแทนความเป็นผู้นำ ชื่อเสียง ความโดดเด่น เชื่อมั่นตนเองสูง


เลข 2 ตัวแทน พระจันทร์ (ธาตุดิน) ความเป็นผู้หญิง ความนุ่มนวล ความอ่อนโยน จินตนาการ เพ้อฝัน


เลข 3 ตัวแทน ดาวอังคาร (ธาตุลม) ความเป็นผู้ชาย การต่อสู้ ความกล้าหาญ มุทะลุ


เลข 4 ตัวแทน ดาวพุธ (ธาตุน้ำ) ตัวแทนแห่งการติดต่อสื่อสาร คำพูด การเจรจา นักการค้าผู้ที่แสนชาญฉลาด


เลข 5 ตัวแทน ดาวพฤหัสบดี (ธาตุดิน) ตัวแทนแห่งสติปัญญา ความคิด ความรู้ ปัญญาธรรมะ ความยุติธรรม


เลข 6 ตัวแทน ดาวศุกร์ (ธาตุน้ำ) ตัวแทนแห่งความสุข การเงิน ความรัก ความสวยงาม กิเลส รสนิยมสูงฟุ้งเฟ้อ


เลข 7 ตัวแทน ดาวเสาร์ (ธาตุไฟ) ตัวแทนแห่งความอดทน ความเครียด แบกภาระ ทุกข์ยาก


เลข 8 ตัวแทน ดาวราหู (ธาตุลม) ตัวแทนแห่งความเป็นนักเลง ดาวแห่งการเสี่ยงโชคและโชคลาภ มัวเมาอบายมุข มีเล่ห์เหลี่ยม กล้าได้กล้าเสีย ชอบของมึนเมา


เลข 9 ตัวแทน พระเกตุ (วิญญาณธาตุ) ตัวแทนแห่ง จิตวิญญาณ ศาสนา ไสยศาสตร์ โบราณ อีกด้านคือความทันสมัย คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี เลขตัวนี้ไปจับคู่กับใครก็จะดึงด้านบวกของเลขที่มันจับคู่ออกมา


เลข 0 ตัวแทน ดาวมฤตยู (วิญญาณธาตุ) ตัวแทน การเริ่มต้นใหม่ ความลับ สิ่งลึกลับ ความเจ็บป่วย การสูญเสีย ความตาย เลขตัวนี้ไปจับกับใครก็จะดึงแต่ข้อเสียของเลขที่มันไปจับ (ไม่ควรมีอย่างยิ่งใน 7 ตัวท้ายของเบอร์โทรศัพท์)

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

คาถามงกุฏพระพุทธเจ้า พร้อมคำแปล

พระคาถา "มงกุฏพระพุทธเจ้า" เป็นพระคาถาโบราณ เก่าแก่ ไม่ทราบ แน่นอนว่า ท่านผู้ใดผูกขึ้น แต่จากคำแปล จะพบว่า มีการร้อยกรอง โยงกลับไปมา น่าพิศวง

คุณวิเศษ ของคาถานี้ จึงมิใช่เพื่อ อัญเชิญพระธาตุ หรือเสกของกิน ให้สัตว์เชื่องเท่านั้น แต่คือการ นอบน้อมจิตใจ เข้าถึงพระพุทธเจ้า การอธิษฐานจิตต่างๆ จึงสำเร็จผล ได้เป็นอัศจรรย์

( ************************  นะโมฯ ๓ จบ************************ )

อิติปิโส วิเสเส อิ

แม้เพราะเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงวิเศษ

อิเสเส พุทธะนาเม อิ

เพราะวิเศษ ควรนอบน้อมพระพุทธเจ้า

อิ เมนา พุทธะตังโส อิ

เพราะนอบน้อมพระพุทธเจ้า เราจะเข้าถึงพระองค์

อิ โสตัง พุทธะปิติ อิ

เพราะเราเข้าถึงพระองค์ ก็จะปีติในพระพุทธเจ้า

( *********************** สวด ๙ จบ ********************************)

หมายเหตุ : ทุกคาถา มีครู มีเจ้าของ พึงไหว้สาธุ บูชาครู ให้ถูกต้อง ก่อนเรียน ก่อนใช้ พระคาถา อย่างน้อยที่สุด ก็พึงแสดง ความเคารพ ต่อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นบรมครู ด้วยการว่า นะโมฯ ๓ จบ แล้วจึงค่อยว่า ตัวพระคาถา ด้วยความเคารพเลื่อมใส และศรัทธาที่ตั้งมั่น ความปรารถนา อันเป็นฝ่ายกุศล ไม่เบียดเบียนใคร ของเรา ก็จักพึงสำเร็จผล เป็นอัศจรรย์


วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วิธีปฏิบัติเพื่อส่งเสริมเรื่อง โชคลาภ การเงิน (ให้ปัง!) หลังเปลี่ยนเบอร์ (คนไม่เปลี่ยนเบอร์ก็ทำได้นะ)



เรื่องที่จะแบ่งปันนี้ คือสิ่งที่ผมได้ทดลองมากับตัวตอนช่วงการเงินแย่ๆและว่างงานอยู่ (ยังไม่รู้ศาสตร์ตัวเลขด้วย)...ตอนนั้นต่อเนื่องอยู่ 2 เดือน กลับสามารถพลิกฟื้นให้การเงินคล่องตัวขึ้นและได้งานที่ดีกว่าเดิม ซึ่งผมต้องขอยกความดีความชอบให้กับหนังสือ The Meta Secret (สุดยอดเดอะซีเคร็ต) ผมแค่ดึงกฏในหนังสือมาแค่ 1 ข้อเท่านั้นเอง โดยใช้วิธีทางพุทธศาสนา ชีวิตก็ดีขึ้นมากเลย มาเล่าวิธีการปฏิบัติกันเลย

1. ตื่นขึ้นมาสวดมนต์ตอนเช้า ระหว่างช่วงเวลา 4.00 น. - 6.00 น. เพราะเป็นช่วงเวลาที่ได้ผลจากการสวดมนต์มากที่สุด จะสวดช่วงอื่นก็ได้ครับ แต่ได้พลังไม่มากเท่าช่วงนี้
2. สวดมนต์ บททำวัตรเช้า หรือ บทสวดมนต์ประจำวันก็ได้ครับ แต่ให้เพิ่มบทสวด บทสวด ระตะนะสุตตัง (รัตนสูตร) , กรณียเมตตสูตร , ธัมมจักกัปปวัตนสูตร , บทขอขมากรรม และ บทแผ่เมตตา
3. ใส่บาตร ครับ โดยก่อนใส่บาตร ให้สวด คาถาเงินล้าน 9 จบ ก่อนครับ
4. กรวดน้ำลงบนดินใต้ต้นไม้ โดยอาจกล่าวว่า "ด้วยบุญนี้ข้าพเจ้าถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ทุกพุทธกาล ด้วยบุญขอส่งไปยังที่ทำการประชุมใหญ่พระแม่ธรณี ขอพระแม่ธรณีเป็นทิพยพยานให้บุญนี้ ขอท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 โปรดนำบุญนี้ส่งไปยัง ...(บุคคลที่เราต้องการอุทิศบุญให้ และเจ้ากรรมนายเวรทุกภพทุกชาติ)..."

ทำ 4 ข้อนี้ครบต่อเนื่อง 1 - 3 เดือน คุณจะเริ่มรู้สึกอะไรบ้างอย่างแล้วครับ ถ้าทำต่อไปเรื่อยๆชีวิตคุณก็จะดีขึ้นกว่าเก่าแน่นอนครับ

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

คาถาเงินล้าน

*********( ตั้งนโม 3 จบ )***********

สัมปะจิตฉามิ นาสังสิโม
พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ (คาถาปัดอุปสรรค)
พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุ เม (คาถาเงินแสน)
มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุ เม (คาถาลาภไม่ขาดสาย)
มิเตพาหุหะติ (คาถาเงินล้าน)
พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ วิระทะโย วิระโคนายัง
วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย พุทธัสสะ
มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม(คาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า)
สัมปะติจฉามิ(คาถาเร่งลาภให้ได้เร็วขึ้น)
เพ็งๆพาๆหาๆฤาๆ

(บูชากี่จบก็ได้ ตัวคาถาต้อว่าทั้งหมด ข้อความอธิบายในวงเล็บไม่ต้องสวด)
(พรหมา-อ่านว่า พรม-มา)
(สวาโหม-อ่านว่า สะ-หวา-โหม)

พระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

บทสวดธัมมจักกัปปวัตนสูตร พร้อมคำแปล

เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯ 

ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสี ฯ 

ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ

ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติเหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟังและพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ฯ 

เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรปฏิบัติให้หนักไปในส่วนที่สุด ๒ อย่าง คือ 

โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน (ถ้ามีการตรวจคำหยาบ..ตรงนี้ให้ออกเสียงว่า ฮีโน..นะครับ) คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต

การประพฤติปฏิบัติตนเพื่อแสวงหาความสุขอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่ารักน่าปรารถนา ซึ่งเป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ต้องมีบ้านเรือน เป็นธรรมของคนผุ้ครองเรือนผู้หนาไปด้วยกิเลส ไม่ใธรรมอันจะนำจิตใจออกจากกิเลส ไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย นี่อย่างหนึ่ง 

โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ
 

และอีกอย่างหนึ่ง คือ การประพฤติปฏิบัติด้วยการทรมานร่างกายให้ได้รับความลำบาก ซึ่งมีแต่ทำให้ใจเป็นทุกข์ทรมานอย่างเดียว ไม่เป็นทางนำจิตใจออกจากกิเลส และไม่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจท้งหลาย ฯ (หรืออีกนัยหนึ่งคือ เร่งหักโหมปฏิบัติธรรมจนเกินกำลัง เพื่อหวังจะได้บรรลุมรรคผลเร็ว ๆ ) 

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนะปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้รู้ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง โดยไม่เข้าไปใกล้ส่วนที่สุด ๒ อย่างนั้นแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง 

จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ 

ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น สามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ฯ 

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น คือการปฏิบัติอย่างไร? 

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ 

ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนี้ คือ ทางนำไปสู่ความไกลจากกิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลาย มี ๘ อย่าง ฯ 

เสยยะถีทัง 

ข้อปฏิบัติเหล่านี้คือ 

สัมมาทิฏฐิ


ปัญญาอันเห็นชอบ ( คือ เห็นอริยสัจ ) 

สัมมาสังกัปโป 

ความดำริชอบ ( คิดจะออกจากกาม ไม่คิดอาฆาตพยาบาท ไม่คิดเบียดเบียน )

สัมมาวาจา

วาจาชอบ ( ไม่พูดโกหก ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล ) 

สัมมากัมมันโต

การงานชอบ ( เว้นจากการทุจริต เช่น โกงแรงงานเขาเป็นต้น และทำการงานที่ไม่มีโทษ ) 

สัมมาอาชีโว

การเลี้ยงชีวิตชอบ ( หากินโดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดประเพณี ) 

สัมมาวายาโม

ความเพียรชอบ ( เพียรละชั่ว ประพฤติดีเพื่อให้มีคุณธรรมประจำใจ และเพื่อให้ได้คุณธรรมสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป ) 
สัมมาสะติ

การระลึกชอบ ( ระลึกนึกถึง อนุสสติ ๑๐ ประการ มีพระนิพพานเป็นที่สุด และระลึกในมหาสติปัฏฐาน ๔ )

สัมมาสะมาธิ ฯ

การตั้งจิตไว้ชอบ ( การทำสมาธิให้อารมณ์ตั้งมั่นในอนุสสติ ๑๐ ประการนั้น ) ฯ 
( หรือกล่าวโดยย่อ มรรค ๘ ประการนี้ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ) 


อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางเหล่านี้แล คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง ซึ่งสามารถทำดวงตาคือ ปัญญา ทำญาณเครื่องรู้ ให้เป็นไปเพื่อใจสงบระงับจากกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี และเพื่อทำให้กิเลสดับไปจากจิตคือเข้าสู่พระนิพพาน ที่ตถาคตรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ 


อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สภาวะเหล่านี้แลเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ 

ชาติปิ ทุกขา

ความเกิดก็เป็นทุกข์ 

ชะราปิ ทุกขา

เมื่อความแก่เข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์ 

มะระณัมปิ ทุกขัง

เมื่อความตายเข้ามาถึง ก็เป็นทุกข์ 

โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา 


เมื่อความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจเกิดขึ้นมา ก็เป็นทุกข์ 

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข

เมื่อประสบพบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์ 

ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข

เมื่อพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่ชอบใจก็เป็นทุกข์ 

ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง

และแม้คิดปรารถนาอยากได้สิ่งใด แต่ไม่ได้สิ่งนั้นสมปรารถนา ก็เป็นทุกข์ 

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ

กล่าวโดยย่อแล้วก็คือ การหลงคิดว่าร่างกายเป็นของเราของเขานั่นแล เป็นตัวทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง ฯ 

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ยายัง ตัณหา 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้แลเป็นต้นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง 


โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภินันทินี เสยยะถีทัง กามะตัณหา 


คือ มีความอยากเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป และมีความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่น่าปรารถนา ก็เป็นเหตุให้ใจเกิดทุกข์ 

ภะวะตัณหา

สิ่งใดที่ยังไม่มี ก็คิดอยากจะให้มีขึ้นมา อย่างนี้ก็ทำให้ใจเกิดทุกข์ 

วิภะวะตัณหา

และเมื่อมีทุกอย่างสมปรารถนาแล้ว ก็อยากจะให้ทุกอย่างคงทนอยู่ตลอดไป เมื่อมันจะต้องสลายหายไป ก็ร้อนใจไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น อย่างนี้ก็ยิ่งทำให้ใจเกิดทุกข์หนักขึ้นอีก ฯ 

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดับตัณหาความอยากให้หมดไปจากใจด้วยการ ละ วาง ปล่อย และไม่คิดยินดีพัวพันอยู่กับตัณหาความอยากนั้นอีกเด็ดขาด คือ การดับทุกข์ให้หมดไปจากใจได้อย่างแท้จริง ฯ 

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเพื่อนำกิเลสให้หมดไปจากใจนี้ มี ๘ อย่าง คือ ปัญญาเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตไว้ชอบ คือ ข้อปฏิบัติเพื่อนำใจให้หมดจากกิเลสและดับความทุกข์ได้อย่งแท้จริง ฯ 

อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ 

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราอย่างนี้ว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจ เป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ 


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริงนั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ตลอดเวลา" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือ ปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้งและความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เหล่านี้เป็นต้น อันเป็นตัวทุกข์อย่งแท้จริงนี้นั้นแล เราได้หยั่งรู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว" ฯ 

อิทัง ทุกขะสุมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรม และการกำหนดรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่างในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจนี้ เป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริง" ฯ 


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องละให้ขาด" ฯ 

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ (ให้อ่านว่า ปะฮีนันติ) เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "ตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดที่มีอยู่ในใจ อันเป็นเหตุทำให้ใจเกิดทุกข์อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ละขาดไปจากใจแล้ว" ฯ 

อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา" ฯ 

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วว่า "การดับตัณหาคือความอยากไม่มีสิ้นสุดนี้ให้หมดไปจากใจ คือ การดับทุกข์ได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้แจ้งในใจอยู่ตลอดเวลาแล้ว" ฯ 

อิทัง ทุกขะนิโรธคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ เป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง" ฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา" ฯ 


ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ดวงตาคือปัญญาเห็นธรรมและการกำหนดรู้ ความหยั่งรู้เหตุผล ตลอดถึงความรู้แจ้ง และความมีใจสว่าง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เกิดขึ้นในปัญญาของเราแล้วอย่างนี้ว่า "มรรคคือทาง ๘ ประการ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริงนี้นั้นแล เราได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว" ฯ 

ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจริง ๔ อย่าง อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ ถ้าหากเรายังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ 
( อาการ ๑๒ รอบนี้ เรียกว่า ญาณ ๓ คือ 
1. สัจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดในความจริงแต่ละอย่างในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่าเป็นทุกข์แท้จริง , ตัณหาคือเหตุเกิดทุกข์แท้จริง , การดับตัณหาคือการดับทุกข์ได้แท้จริง , มรรคคือ ทาง ๘ ประการเป็นข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับไปจากใจได้อย่างแท้จริง
2. กิจจญาณ : การหยั่งรู้ให้ทราบชัดว่า จะต้องทำอย่งไรกับความจริงแต่ละอย่างนั้น ว่า ตัวทุกข์ควรต้องกำหนดรู้ตลอดเวลา , ตัณหาต้องละให้ขาด , การดับตัณหาเป็นสิ่งที่ต้องทำให้แจ้งในใจตลอดเวลา , มรรค ๘ เป็นธรรมที่ต้องทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลา และ 
3. กตญาณ : การหยั่งรู้ว่าได้ทำหน้าที่ทุกอย่างในความจริงแต่ละอย่างนั้นได้โดยบริบูรณ์แล้ว คือ ทุกข์รู้ด้วยปัญญาโดยตลอดแล้ว , ตัณหาได้ละขาดไปจากใจแล้ว , การดับตัณหาได้ทำให้แจ้งในใจตลอดเวลาแล้ว , มรรค ๘ ได้ทำให้มีในใจไว้ตลอดเวลาแล้ว )

เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เพียงนั้น ว่าเราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือ ของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ 

ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ความจริง ๔ อย่ง อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสนี้ เราได้รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยอาการหมุนเวียนแห่งปัญญาญาณ ครบ ๓ รอบทั้ง ๔ อย่าง รวมเป็นอาการ ๑๒ รอบ ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์หมดจดแล้ว ฯ 

อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงกล้าประกาศยืนยันแก่มนุษยโลก ตลอดถึงเทวโลก มารโลก พรหมโลก รวมทั้งหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้ได้รู้เฉพาะว่า เราได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้โดยชอบอันยอดเยี่ยม ซึ่งไม่มีความตรัสรู้อื่นในโลกใด ๆ หรือของใคร ๆ จะเทียบได้ ฯ 


ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ 

ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า "กิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลายไม่สามารถจะกำเริบขึ้นมาได้อีกแล้ว จิตของเราได้หลุดพ้นจากกิเลสโดยวิเศษแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเราแล้ว บัดนี้ไม่มีภพเป็นที่เกิดสำหรับเราอีกแล้ว" ฯ

อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ 

ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความจริง ๔ อย่างอันประเสริฐ อันทำให้ใจห่างไกลจากกิเลสอย่างนี้แล้ว ฯ 

อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ 

พระภิกษุปัจจวัคคีย์เหล่านั้น ก็มีความเพลิดเพลินยินดีในธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วนั้น ฯ 
อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน 
ก็ในเมื่อขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกล่าวแสดงความละเอียดพิศดารแห่งความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการอยู่นั่นแล 

อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ "ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ" ฯ 

ดวงตาคือ ปัญญาอันเห็นธรรม ซึ่งปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดแล้วแก่ท่านโกณทัญญะ ผู้มีอายุอย่างนี้ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาแล้ว สิ่งนั้น ๆ ทั้งปวง ก็ต้องดับสลายไปเป็นธรรมดา" ฯ 

ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก 

ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงประกาศวงล้อแห่งธรรมให้เป็นไปแล้วนั่นแล 

ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง

ภูมิเทวดาทั้งหลาย ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า 

"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ 

"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึงเทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้" 

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวดา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ 

เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าภูมิเทวดาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ 

จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ 

เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ 


ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ 

เทพเจ้าเหล่าชั้นยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ 


ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ 

เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นยามาแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ 

ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิตแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ 


นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

เทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้น ฯ 


ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สังททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง 

เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ส่งเสียงให้บันลือลั่นขึ้นว่า 

"เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ" ฯ 

"นั่นคือ วงล้อแห่งธรรมอันยอดเยี่ยม ไม่มีอะไรเทียบได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ซึ่งวงล้อแห่งธรรมอย่างนี้ อันสมณพราหมณ์ ตลอดถึง เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ไม่สามารถให้เป็นไปได้" ฯ

อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ 

และโดยขณะเดียวเท่านั้น เสียงก็ดังขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยอาการอย่างนี้ ฯ 


อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ

และเสียงนี้ได้สะท้านสะเทือนหวั่นไหว ดังสนั่นไปตลอดทิศทั้ง ๔ ทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ ฯ 
อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ 
อีกทั้งแสงสว่างอันใหญ่ยิ่งไม่มีประมาณ ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลายเสียหมด ฯ 

อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ "อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณทัญโญติ" ฯ

ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานขึ้นว่า "โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ โกณทัญญะผู้เจริญได้รู้แล้วหนอ" ฯ (อัญญาสิ : ได้รู้แล้ว) 

อิติหิทัง อายัสมะโต โกณทัญญัสสะ "อัญญาโกณทัญโญ" เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ

เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานขึ้นมาอย่างนี้แล นามว่า "อัญญาโกณทัญญะ" นี้นั่นแหละ ได้มีแล้วแก่พระโกณทัญญะผู้มีอายุ ด้วยประการฉะนี้ แลฯ

บทสวด กรณียเมตตสูตร พร้อมคำแปล

บทขัดกะระณียะเมตตะสุตตัง 

ยัสสานุภาวะโต ยักขา ยัมหิ เจวานุยุญชันโต
สุขัง สุปะติ สุตโต จะ เอวะมาทิคุณูเปตัง
เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง รัตตันทิวะมะตันทิโต
ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ

แปลบทขัดกะระณียะเมตตะสุตตัง
เหล่าเทพยาทั้งหลาย ย่อมไม่แสดงอาการอันน่าสะพรึงกลัว เพราะอานุภาพแห่งพระปริตรนี้ อนึ่งบุคคลไม่เกียจคร้าน สาธยายอยู่เนือง ๆ ซึ่งพระปริตรนี้ ทั้งในกลางวันและกลางคืนย่อมหลับเป็นสุข ขณะหลับย่อมไม่ฝันร้าย ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงสวดพระปริตร อันประกอบไปด้วยคุณดังกล่าวมา ดังนี้เทอญ

บทกะระณียะเมตตะสุตตัง 

ทำให้หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย เทพพิทักษ์รักษา ไม่มีภยันตราย จิตเป็นสมาธิง่าย ใบหน้าผ่องใส มีสิริมงคล ไม่หลงสติในเวลาเสียชีวิต และเป็นพรหมเมื่อบรรลุเมตตาฌาน

๑. กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ . . . . . . . ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ . . . . . . . . . . . . สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี

กิจที่คนฉลาดในสิ่งที่มีประโยชน์ และมุ่งหมายจะบรรลุทางสงบ จะพึงทำ ก็คือ เป็นคนกล้า, เป็นคนซื่อ, เป็นคนตรง, ว่าง่าย, อ่อนโยน, ไม่เย่อหยิ่ง


๒. สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ . . . . . . . .อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินท์ริโย จะ นิปะโก จะ . . . . . . . . อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ

เป็นผู้สันโดษ, เลี้ยงง่าย, มีภาระกิจน้อย, คล่องตัว, ระมัดระวังการแสดงออก, รู้ตัว, ไม่คะนอง, ไม่คลุกคลีในตระกูลทั้งหลาย


๓. นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ . . . . . เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ . . . . . . . . . . . . สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

ไม่ประพฤติสิ่งที่วิญญูชนตำหนิติเตียนได้, พึงแผ่เมตตาจิตว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงมีความสุขกายสบายใจ มีความเกษมสำราญเถิด


๔. เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ . . . . . . . . . . . . .ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา เย มะหันตา วา . . . . . . . . . . .มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา

ขอสัตว์ทั้งหลายบรรดามี ที่เป็นสัตว์ตัวอ่อน หรือตัวแข็งก็ตาม เป็นสัตว์-มีลำตัวยาวหรือ ลำตัวใหญ่ก็ตาม มีลำตัวปานกลาง หรือตัวสั้นก็ตาม ตัวเล็กหรือตัวโตก็ตาม


๕. ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา . . . . . . . . . เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วา . . . . . . . . . . . . .สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

ที่มองเห็นหรือมองไม่เห็นก็ตาม ที่อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ก็ตาม ที่เกิดแล้ว หรือ กำลังหาที่เกิดอยู่ก็ตาม ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงนั้นจงสุขกายสบายใจเถิด


๖. นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ . . . . . . . . .นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
พ์ยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา . . . . . . .นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ

บุคคลไม่พึงหลอกลวงผู้อื่น ไม่ควรดูหมิ่นเหยียดหยามใคร ๆ ไม่ควรมุ่งร้าย ต่อกันและกัน เพราะมีความขุ่นเคืองโกรธแค้นกัน


๗. มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง . . . . . . . . . . อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ . . . . . . . . . . . . . . มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

คนเราพึงแผ่ความรักความเมตตา ไปยังสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ดุจดังมารดาถนอม และปกป้องบุตรสุดที่รักคนเดียวด้วยชีวิต ฉันนั้น


๘. เมตตัญจะ สัพพะโลกัส์มิง . . . . . . . . .มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ . . . . . . . . . . อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
พึงแผ่เมตตาจิต ไม่มีขอบเขต ไม่คิดผูกเวร ไม่เป็นศัตรู อันหาประมาณไม่ได้ ไปยังสัตว์โลกทั้งปวงทั่วทุกสารทิศ


๙. ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา . . . . . . . . . . . สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ . . . . . . . . . . พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ

ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ตลอดเวลาที่ตนยังตื่นอยู่ พึงตั้งสติ อันประกอบด้วยเมตตานี้ให้มั่นไว้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า การอยู่ด้วยเมตตานี้ เป็นพรหมวิหาร (การอยู่อย่างประเสริฐ)


๑๐. ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา . . . . .ทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง . . . . . . . . . . . . . .นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ

ท่านผู้เจริญเมตตาจิต ที่ละความเห็นผิดแล้ว มีศีล มีความเห็นชอบ ขจัดความใคร่ ในกามได้ ก็จะไม่กลับมาเกิดอีกเป็นแน่แท้

บทความที่ได้รับความนิยม